2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

70 กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา และได้ให้คำนิยาม มูลฝอยไว้ในมาตรา 4 ซึ่งหมายความรวมถึงขยะ อาหารอีกด้วย มาตรา 4 มูลฝอย หมายถึง เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยง สัตว์ด้วย ในการดำเนินภารกิจด้านการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอย มาตรา 20 ให้อำนาจองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และมีอำนาจออกข้อกำหนดใช้บังคับในท้องถิ่นในการดำเนินการตามกฎหมาย รวมทั้ง มีอำนาจเปรียบเทียบปรับกับผู้ที่ก่อให้เกิดปัญหาทางสาธารณสุข ที่กระทบสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพอนามัย ของประชาชน พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2550 กำหนดให้ ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตอำนาจ โดยอาจ ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นได้หรืออนุญาตให้บุคคลใดดำเนินการ แทนภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นก็ได้ และยังให้อำนาจราชการส่วนท้องถิ่นในการ กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการจัดเก็บสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยไม่เกินอัตราที่กำหนดใน กฎกระทรวงด้วย อย่างไรก็ตาม แม้กฎหมายฉบับนี้จะมุ่งเน้นการจัดการขยะ แต่ก็เป็นการจัดการหรือ กำจัดขยะที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งถือเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุและไม่ก่อให้เกิดการลดปริมาณขยะลง (วิชัย โถสุวรรณจินดา, 2558) 2.7.2.2 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 บัญญัติขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาความเสื่อมโทรมของคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสีย อากาศ เป็นพิษ ป่าไม้ถูก ทำลาย ดินเสีย ต้นน้ำถูกทำลาย โดยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ให้ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และราชการส่วนท้องถิ่น มีอำนาจในการบริหารจัดการ รวมถึง กำหนด แนวทางปฏิบัติในส่วนที่ไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบโดยตรง และกำหนดให้มีกองทุน สิ่งแวดล้อม เพื่อ สนับสนุนการจัดการของเสีย โดยให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้รับผิดชอบ กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้มุ่งเน้นถึงการจัดการขยะโดยตรง (วิชัย โถสุวรรณจินดา, 2558) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 (พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561" , 2561, 19 เมษายน) มีเหตุผลความจำเป็นในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 บัญญัติให้การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้ง ด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ให้เป็นตามที่กำหนดในประกาศกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่สอดคล้องกับมาตรา 58 และมาตรา 278 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติให้มีการจัดทำกฎหมายที่จำเป็น เพื่อกำหนดให้การ ดำเนินการใดของ รัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้ผู้ใดดำเนินการ ถ้าการนั้นอาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3