2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

71 สิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือ สิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ต้องดำเนินการ ให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนหรือชุมชนและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย แล ะ ประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาดำเนินการหรืออนุญาตตาม กฎหมาย ประกอบกับกระบวนการและขั้นตอนการจัดทำการเสนอและการพิจารณารายงานการ วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นหลักเกณฑ์การปฏิบัติ ที่ ได้ใช้บังคับเป็นเวลานานแล้ว ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุง บทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และระบบการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเพื่อให้มี มาตรฐานที่ยอมรับและได้รับความเชื่อมั่นจากทุกภาคส่วนในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรธรรมชาติควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล (เขตไท ลังการ์พินธุ์, 2563) 2.7.2.3 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของ บ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ("พระราชบัญญัติรักษาความ สะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535" , 2535, 19 กุมภาพันธ์) เป็น กฎหมายที่มุ่งเน้นการควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ เรียบร้อยของบ้านเมือง ในที่หรือทางสาธารณะเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ครอบคลุมถึงกระบวนการบริหาร จัดการมูลฝอยทั้งระบบ กฎหมายฉบับนี้มีสาระสำคัญ มาตรา 8 คือ กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ ครอบครองอาคารหรือบริเวณของอาคาร ที่อยู่ติดกับทางเท้า มีหน้าที่ดูแลรักษาความสะอาดทางเท้าที่ อยู่ติดกับอาคารหรือบริเวณของอาคาร ห้ามผู้ใดอาบน้ำ หรือซักล้างสิ่งใด ๆ บนถนน หรือสถานที่ สาธารณะ ซึ่งมิได้จัดไว้ซึ่งการนั้น หรือในบริเวณทางน้ำที่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ประกาศห้ามไว้ ห้าม การโฆษณาด้วยการปิด ทิ้ง หรือโปรยแผ่นประกาศ หรือใบปลิวโดยไม่ได้รับอนุญาต ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูล มูลฝอยในที่สาธารณะ ห้ามปีนป่าย นั่ง หรือขึ้นไป บนรั้ว กำแพง ต้นไม้ หรือสิ่งค้ำยันต้นไม้ในที่ สาธารณะ ห้ามติดตั้ง ตาก วางหรือ แขวนสิ่งใด ๆ ในอาคารในลักษณะที่สกปรกรกรุงรังหรือไม่เป็น ระเบียบเรียบร้อยและมีสภาพที่ประชาชนอาจเห็นได้จากที่สาธารณะ เป็นต้น ผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษตาม กฎหมาย (วิชัย โถสุวรรณจินดา, 2558) พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 เริ่มให้ความสำคัญกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย โดยระบุชัดเจนว่า เป็นปัญหาสำคัญ ระดับประเทศ แต่ปัจจุบันการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยมีบัญญัติไว้ ในกฎหมายหลายฉบับ และมีหน่วยงานที่รับผิดชอบหลายหน่วยงาน ทำให้ขาดการบูรณการร่วมกันโดยเฉพาะการกำหนด มาตรฐานเกี่ ยวกับการเก็บ ขน และกำจัดสิ่ งปฏิกูลและมูลฝอยแต่ละประเภท อีกทั้ งอัตรา ค่าธรรมเนียมในการให้บริการจัดการสิ่งปฏิกูล และมูลฝอยที่ราชการส่วนท้องถิ่นจัดเก็บยังไม่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3