2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

73 และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 18 กำหนดว่า “ให้การเก็บขนหรือกำจัดสิ่ง ปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตราชการส่วนท้องถิ่นใดให้เป็นอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นนั้น” ดังนั้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งเป็นราชการส่วนท้องถิ่นจึงมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการขยะในการเก็บ ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในท้องถิ่นของตนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่คุ้มครอง ดูแล และ บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ตามมาตรา 45 (7) พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 2.7.2.8 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 องค์การบริหารส่วนตำบลมีกำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 23 (3) ให้องค์การบริหารส่วน ตำบล (อบต.) มีอำนาจหน้าที่ ในการในการกำจัดขยะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลของตน พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มีการแบ่งเทศบาลออกกำหนดไว้ 3 รูปแบบ ได้แก่ เทศบาลนคร เทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล และมีการกำหนดไว้ ในมาตรา 50(3) มาตรา 53 (1) และมาตรา 56(1) ให้เทศบาลทั้ง 3 รูปแบบ มีอำนาจหน้าที่รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่ สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลในเขตเทศบาลของตนและพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ให้ องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่รักษาความสะอาด ของถนน ทางน้ำทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ตามมาตรา 67 (2) 2.7.2.9 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 ให้อำนาจ ราชการส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามข้อ 4 และให้อำนาจในการ จัดเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยนั้นอยู่ในส่วนของราชการส่วนท้องถิ่น ตามข้อ 6 รวมถึงกระบวนการจัดเก็บและ ขนมูลฝอยตามข้อ 7-10 ไปจนถึงการกำจัดขยะมูลฝอยตามข้อ 11-12 ก็อยู่ในอำนาจของราชการส่วน ท้องถิ่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งเห็นได้ว่าการจัดการขยะมูลฝอยทุกขั้นตอนอยู่ ในอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและทำให้เกิดปัญหาทับซ้อนกันในการจัดการขยะ ให้อำนาจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ก็ไม่มีหน่วยงานเฉพาะที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะ จากที่กล่าวมาข้างต้นเห็นได้ว่ามีกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดการขยะของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้มากมายหลายฉบับแต่การจัดการขยะก็ยังคงมีปัญหาอยู่ สิ่งที่เป็นปัญหา คือ แม้กฎหมายจะให้อำนาจและหน้าที่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการกับปัญหาขยะก็ ตาม แต่การใช้อำนาจหน้าที่ลงไปสู่การปฏิบัติหรือการบังคับใช้กฎหมายยังมีความจำเป็นที่จะต้องมี กฎหมายระดับท้องถิ่นที่จะรองรับการใช้อำนาจในการกำหนดรายละเอียดขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ กับกระบวนการวิธีดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของ ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วยจึงจะทำให้การจัดการขยะอาหารชุมชนเกิด ประสิทธิผลและยั่งยืน อย่างไรก็ตามแม้ว่าในปัจจุบันจะมีกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการจัดการขยะแต่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3