2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

75 แนวโน้มจะมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อศึกษามาตรการต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดการขยะในประเทศ ไทย จากการศึกษาพบว่า แม้ประเทศไทยจะมีมาตรการทางกฎหมายที่กำหนดขั้นตอน วิธีการ และ อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐในการจัดการขยะและเป็นกฎหมายในลักษณะที่เป็นมาตรการสั่ง การและควบคุม อีกทั้ง มีการนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในรูปของค่าธรรมเนียมการเก็บและรับขน ขยะมาใช้ แต่การใช้มาตรการต่าง ๆ เหล่านั้นก็ยังไม่ครอบคลุมถึงปัญหาที่ เกิดขึ้น การจัดเก็บ ค่าธรรมเนียมการเก็บและรับขนเป็นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่ในอัตราที่ต่ำกว่าต้นทุนทรัพยากรรวม (Full-cost Resource Price) เพราะไม่ได้รวมต้นทุนการกำจัดขยะและต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไป ด้วย เนื่องจากมองว่าการจัดเก็บขยะเป็นบริการสาธารณะ จึงเก็บในค่าธรรมเนียม ในอัตราที่ต่ำดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะจึงมาจากงบประมาณแผ่นดินซึ่งกรณีนี้ถือว่าการกำจัดขยะเป็นบริการ สาธารณะของรัฐ แนวคิดเช่นนี้ไม่สอดคล้องกับหลักความเป็นจริง ในเชิงธุรกิจและขัดต่อหลักการ จัดการสิ่งแวดล้อมที่มุ่งให้ประชาชนมีส่วนในการจัดการสิ่งแวดล้อม ร่วมกัน ทำให้ประชาชนขาด แรงจูงใจในการลดปริมาณและคัดแยกขยะเพื่อลดปริมาณการนำขยะไปกำจัดให้น้อยลง เพราะไม่ได้ รับผลกระทบทางเศรษฐกิจตามหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายซึ่งเป็นหลักการจัดการสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่ มุ่งให้ผู้ที่ก่อมลพิษต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะตาม และยังมีปัญหาบางประการที่มาตรการ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่งปัญหานั้นสามารถแบ่งออก ได้เป็น 3 ประการ ได้แก่ 1. ปัญหาการขาดมาตรการทางภาษีในการจัดการขยะ 2. ปัญหาการขาดรายได้ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการปัญหาขยะ 3. ปัญหามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการ ขยะ อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังไม่มีการนำมาตรการทางภาษีมาใช้จัดการปัญหาขยะ มีเพียงการนำ เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งได้แก่ค่าธรรมเนียมการเก็บและรับขนขยะมาใช้เพียงประการเดียวและ ใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากการเก็บค่าธรรมเนียมการรับขนขยะดังกล่าวยังไม่ สะท้อนถึงต้นทุนในการจัดการขยะที่แท้จริงจึงเป็นการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่ไม่เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ อีกทั้งการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจะต้องคำนึงถึงต้นทุนที่เกิดจากการใช้หรือรับบริการ ค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระต้องครอบคลุมต้นทุนการให้บริการแต่ไม่สามารถเก็บในลักษณะที่มีส่วนเกิน จากต้นทุนการให้บริการได้ แต่หลักการของภาษี กฎหมายภาษี ไม่ได้จำกัดการกำหนดระดับอัตรา ภาษีไว้ ดังนั้น ภาษีที่ต้องชำระตามอัตราภาษีสามารถเก็บเป็น จำนวนเงินมากกว่าต้นทุนการจัดการ เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีได้ ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะทำให้จูงใจประชาชนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ส่งผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเพียงประการเดียว งานวิจัยศึกษาเรื่อง การศึกษาปริมาณและองค์ประกอบของขยะเศษอาหารในมหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ (องครักษ์) เพื่อประเมินศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพ บรรพต นิวแมน,จิรานุช ขาว สอาด, เขมจิรา สอนดี (2559) นำเสนอถึงหลักการว่า มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (องครักษ์) มี ลักษณะเป็นชุมชนขนาดย่อมที่ ประสบปัญหาขยะมูลฝอยเพิ่ มขึ้ นอย่างต่อเนื่ อง งานวิจัยนี้ มี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3