2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
76 วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณและคุณลักษณะของเศษอาหารที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒและประเมินศักยภาพในการนำเศษอาหารมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพโดยการเก็บข้อมูลจากโรง อาหารในมหาวิทยาลัย 5 แห่ง โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและศูนย์การแพทย์สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พบว่าเศษอาหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยเศษข้าว เศษ กับข้าวที่เหลือ เศษผักและผลไม้ มีปริมาณเศษอาหารเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการกำจัดเศษอาหารเหล่านี้ยังไม่สามารถรวบรวมและนำไปกำจัดได้ทั้งหมด เห็นได้จากการมีเศษอาหารตกค้างและเหลือทิ้งตามแหล่งน้ำในมหาวิทยาลัย ปัญหาดังกล่าวนอกจาก เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติและการดูแลรักษาสถานที่แล้ว เศษอาหารเหล่ายังก่อให้เกิด ปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ตามมา เช่น กลิ่นเหม็นทำให้อากาศเสียและรั่วไหลเป็นน้ำเสียส่งผลต่อทัศ นภาพภายในมหาวิทยาลัย เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค หากไม่มีการจัดการที่เหมาะสม จากการเก็บข้อมูล และฐานข้อมูลงานวิจัยสามารถคำนวณการผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหารในมหาวิทยาลัยได้เท่ากับ 698.4 ลูกบาศก์เมตรต่อปริมาณเศษอาหาร เฉลี่ย 1 วัน ซึ่งสามารถทดแทนเชื้อเพลิง LPG ได้ 319.6 กิโลกรัม และสามารถใช้ผลิตกระแสประมาณ 0.021 MW (จากการคิดค่าปริมาณก๊าซชีวภาพที่ 1 ลูกบาศก์เมตรต่อปราณกระแสไฟฟ้าที่ต่ำสุด 0.71 และสูงสุดที่ 1.4 kWh) ข้อมูลเหล่านี้จะเป็น ทางเลือกและส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจในการจัดการขยะในระดับต่าง ๆ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับ ขยายผลออกไปสู่ระดับชุมชน ระดับ จังหวัดและระดับประเทศ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อน การพัฒนาประเทศที่ยังยื่นต่อไป งานวิจัยศึกษาเรื่อง การจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนขนาดเล็ก โดยกระบวนการมีส่วนร่วม ของ ชุมชน: ทางเลือกและโอกาส จรียา ยิ้มรัตนบวร,อภิชน วัชเรนทร์วงศ์ (2559) กล่าวว่า ปัญหาขยะมูล ฝอยเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของแต่ละชุมชน เพราะมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของ ประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นนั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้น ตามไปด้วย แต่ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาลยังมีสัดส่วนน้อยมาก ซึ่งหากขยะ มูลฝอยถูกกำจัดแบบไม่ถูกหลักสุขาภิบาลจะก่อให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อชุมชน ได้แก่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวันและสัตว์นำโรคต่าง ๆ เช่น ก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหาร โรคพยาธิ และโรคไข้เลือดออก เป็นต้น อีกทั้งปัญหาน้ำชะขยะมูลฝอย ( leacheat) ซึ่ งมีความเข้มข้นของ สารอินทรีย์สูง มีปริมาณโลหะหนัก และสารพิษปนเปื้อนอยู่ หากไม่ถูกบำบัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาล จะก่อให้เกิดการปนเปื้อนกับแหล่งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา ในการอุปโภคและบริโภคภายในชุมชน อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้านทัศนียภาพของชุมชน จาก การศึกษาพบว่า ชุมชนขนาดเล็กตามกฎหมายการกำจัดขยะมูลฝอยของชุมชนเป็นหน้าที่ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ในปัจจุบันการดำเนินไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากหน่วยงานรัฐขาด งบประมาณ ขาดบุคลากร ขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการที่เหมาะสมและเกิดความขัดแย้งและ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3