2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
77 การยอมรับจากประชากรในชุมชนถึงแม้บางพื้นที่จะมีการจัดสร้างสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยแบบถูก สุขาภิบาล แต่ก็คงยังมีปัญหาในด้านการดำเนินงาน เนื่องจากขาดการบริหารจัดการทั้งในเรื่องงบการ ดำเนินการและบุคลากร รวมทั้งการเก็บ ค่าธรรมเนียมขาดประสิทธิภาพ บางแห่งยังมีปัญหามวลชน ต่อต้านการแก้ปัญหาไปได้ระดับหนึ่ง แต่ยังมีปัญหาเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจร ซึ่ง ต้องการการประสานงานเพื่อการจัดระบบ การจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ และการ สนับสนุนจากส่วนกลางด้านวิชาการและบริหารจัดการ อีกทั้งเนื่องด้วยปริมาณขยะของชุมชนขนาด เล็กที่มีจำนวนไม่มาก ทำให้มีข้อจำกัดในการเลือกวิธีการที่ให้มีความคุ้มค่ากับการลงทุนและสามารถ นำไปใช้งานได้อย่างยั่งยืน งานวิจัยศึกษาเรื่อง มาตรการทางกฎหมายภาษีเพื่อลดขยะอาหาร ชริสา สุวรรณวรบุญ ( 2561) นำเสนอว่า ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีปริมาณของขยะอาหารเป็น สัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ขยะอาหารนั้นเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ยัง ไม่ตระหนักถึงหรือมองว่ าเป็นปัญหา ผลจากการศึกษาพบว่ าผลกระทบในเชิงกฎหมายและ กระบวนการยุติธรรมจากการที่ไม่มีกฎหมายสำหรับการจัดการขยะอาหาร หน่วยงานภาครัฐที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะไม่มีข้อมูลเพียงพอในการกำหนดนโยบายเพื่อบริหารจัดการขยะอาหาร การจัดการขยะอาหารของประเทศไทยยังเป็นส่วนหนึ่งชองการดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยอื่น ๆ แม้ปัจจุบันจะมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการปัญหาขยะอาหารหลายฉบับ แต่กฎหมายดังกล่าวไม่ ครอบคลุมการจัดการขยะทั้งวงจร และไม่สามารถสร้างแรงจูงใจให้เอกชนลดปริมาณขยะและขยะ อาหารลงได้ นอกจากนี้รัฐยังไม่มีการกำหนดนโยบายสำหรับการจัดการขยะอาหารโดยเฉพาะ กฎหมายที่ใช้บังคับในประเทศไทยปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยทั้งระบบ ขาด ความชัดเจนในการจัดการขยะมูลฝอยแต่ละประเภทซึ่งรวมถึงขยะอาหาร และมุ่งเน้นการจัดการขยะ มูลฝอยที่ปลายทาง คือ การกำจัดขยะ มากกว่าการจัดการขยะที่ต้นทางหรือ การลดปริมาณการเกิด ขยะอาหาร แสดงให้เห็นถึงการขาดความมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชนในการลดปริมาณ ขยะ อีกทั้งปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการนำมาตรการทางภาษีมาใช้เพื่อจัดการปัญหาขยะอาหาร งานวิจัยศึกษาเรื่ อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างขยะอาหารในระดับครัวเรือน : กรณีศึกษาเขตหนองจอก จังหวัดกรุงเทพมหานคร สุชานาฎ อเนกนพรัตน์ (2564) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่ ส่งผลต่อแนวโน้มการสร้างขยะอาหารในระดับครัวเรือน เขตหนองจอก จังหวัดกรุงเทพมหานคร ว่า ปริมาณอาหารที่ผลิตได้ทั่วโลกเกิดความสูญเสียหรือกลายเป็นเศษอาหารเหลือ ทิ้งมากถึง 1 ใน 3 หรือ ประมาณ 1,300 ล้านตันของปริมาณที่ผลิตได้ นอกจากนี้ความสูญเสียด้านอาหารและขยะอาหารที่ถูก ทิ้ง ยังทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรที่ใช้เพาะปลูก เช่น น้ำ ที่ดิน ปุ๋ย พลังงาน และยังรวมถึงการสูญเสีย มูลค่าทางเศรษฐกิจโดยเปล่าประโยชน์ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่สร้างขยะอาหารอย่าง มหาศาล จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยประสบปัญหาการจัดการขยะอาหารมาอย่างยาวนาน เนื่อง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3