2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
79 สัตว์ (Farm Feed) ทั้งนี้ สถานที่จัดงานมีส่วนโดยตรงในการรับผิดชอบเรื่องการบริหารจัดงานขยะ อาหารที่เกิดขึ้น งานวิจัยศึกษาเรื่อง การจัดการขยะอินทรีย์เศษอาหารในตลาด กรณีศึกษาพื้นที่เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร วันเพ็ญ จิตร์เอื้อเฟื้อ (2564) นำเสนอถึงปัญหาว่าขยะอินทรีย์เศษอาหารเป็นปัญหา ที่ส่งผลกระทบด้านสุขภาพ และด้านสิ่งแวดล้อม โดยวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการ ขยะอินทรีย์เศษอาหารในตลาด พื้นที่เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อมี ประชาชนไปใช้บริการในตลาดมากขึ้นทำให้ปริมาณขยะในชุมชนและตลาดเพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลทำ ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคส่งกลิ่นเหม็นรบกวนประชาชน เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้น เจ้าของตลาดควรให้ความสำคัญในการจัดการขยะ และควบคุมดูแล สถานที่ให้ถูกสุขลักษณะ โดยเริ่ม จากการลดขยะ การคัดแยกขยะ และการบริการการจัดการขยะภายในตลาดเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่ ดีโดยทำการจัดเก็บขยะ ผลจากการศึกษาพบว่า ผลการศึกษาพบว่า ขยะอินทรีย์ เศษอาหารในตลาด ทั้ง 6 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นขยะอินทรีย์ประเภทเศษผัก ผลไม้ และเศษของสด ซึ่งขยะดังกล่าวล้วนส่งผล กระทบทางด้านสุขภาพ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะอินทรีย์เศษอาหารเพื่อป้องกัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยการจัดการขยะอินทรีย์เศษอาหารแบบมีส่วนร่วมเป็นการดำเนินการ ร่วมกัน ระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน สามารถดำเนินการได้ดังนี้ 1. การคัด แยกขยะอินทรีย์เศษอาหาร ตั้งแต่ต้นทาง 2. ส่งต่อหรือบริจาคขยะอินทรีย์เศษอาหารให้กับบุคคลที่สนใจนำขยะอินทรีย์เศษ อาหารไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 3. พนักงานรักษาความสะอาดของตลาด และเจ้าหน้าที่เก็บขนขยะของ สำนักงานเขตคันนายาวทำการคัดแยกขยะอินทรีย์เศษอาหาร ณ จุดทิ้ง ขยะรวมของตลาด เพื่อ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และ 4. เจ้าหน้าที่เก็บขนขยะของสำนักงานเขตคันนายาวเก็บขนขยะที่เหลือ จากการนำไปใช้ประโยชน์ โดยการนำไปกำจัดให้ถูกวิธี ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวทำให้ได้ตลาด ต้นแบบ (ตลาดสายเนตร)ในการจัดการขยะอินทรีย์ ที่สามารถเป็นตลาดต้นแบบในการจัดการขยะ อินทรีย์เศษอาหารให้กับตลาดอื่น ๆ ได้ ในส่วนของแนวทางการจัดการขยะอินทรีย์ที่เหมาะสม โดยให้ ผู้ค้าทำ การคัดแยกขยะอินทรีย์เศษอาหารตั้งแต่ต้นทางอย่างเคร่งครัดมีการจัดทำโครงการเกี่ยว กับ การแปรรูปขยะอินทรีย์เศษอาหารให้เกิดประโยชน์ และกรุงเทพมหานครต้องมีความจริงใจในการลด ปริมาณขยะและนำเทคโนโลยีในการเก็บขนขยะและการกำจัดขยะมาใช้ เพื่อให้มีการกำจัดขยะแบบ ถูกวิธี ดังนั้น จากงานวิจัยที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นทั้งแปดเรื่องสรุปได้ว่าให้ความสำคัญหรือมุ้งเน้นกับ การศึกษาถึงกรณีที่ต้องการจัดการเกี่ยวกับขยะอาหารโดยกฎหมายสำหรับการจัดการขยะอาหารนั้น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะยังไม่มีข้อมูลเพียงพอในการกำหนดนโยบายเพื่อบริหาร จัดการขยะอาหาร และการจัดการขยะอาหารของประเทศไทยยังเป็นส่วนหนึ่ง ของการดำเนินการ จัดการขยะมูลฝอยอื่น ๆ แม้ปัจจุบันจะมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการปัญหาขยะอาหารหลายฉบับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3