2566-2 ฐิตา ตุกชูแสง-การค้นคว้าอิสระ

3 เรียกร้องให้ผู้ประกอบการหรือผู้ขายรับผิดชอบในความเสียหายก็มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก หรือหากมีการ ฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ประกอบการหรือผู้ขายอันทำให้ผู้ซื้อจำต้องเป็นผู้พิสูจน์ความเสียหายตามหลัก กฎหมายวิธีพิจารณาความเอง ผู้ซื้อจำนวนมากไม่อยู่ในฐานะที่จะดำเนินการด้วยตนเองได้ หรือในบาง กรณีความเสี ยหายนั้ นมีจำนวนน้อยมากเมื่ อเทียบกับเวลา และความยุ่ งยากที่ จะเอาผิด กับ ผู้ประกอบการหรือผู้ขายสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่เป็นแพลตฟอร์ม ทำให้ผู้ซื้อปล่อยให้ความ เสียหายเกิดขึ้นโดยไม่เอาผิดกับผู้ประกอบการหรือผู้ขาย ส่งผลให้ผู้ซื้อถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่บ่อยครั้ง กฎหมายไม่สามารถคุ้มครองผู้ซื้อให้ได้รับความเป็นธรรมได้อย่างสมบูรณ์ ตลอดจนผู้ซื้อมีโอกาสเข้าถึง ความยุติธรรมได้ยาก ดังนั้น จึงไม่อาจหาความยุติธรรมและความเท่าเทียมระหว่างผู้ซื้อสินค้าและผู้ขาย สินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่เป็นแพลตฟอร์มได้ (จารุภัทร กวีนันทวงศ์, 2559) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาข้างต้น ประเทศไทยจึงได้มีการตรากฎหมายและประกาศออกมา ใช้บังคับ ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562, พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560, พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และฉบับ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541, ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การตั้งแผนก คดีซื้อขายออนไลน์ในศาลแพ่ง ซึ่งได้รับรองสิทธิให้ผู้ซื้อสินค้าออนไลน์สามารถดำเนินคดีกับผู้ขาย สินค้าออนไลน์ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบทั้งยังมีการแต่งตั้งองค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค คณะกรรมการคุ้มครองเฉพาะเรื่อง แบ่งเป็น คณะกรรมการว่าด้วย การโฆษณา และคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก รวมทั้งได้มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อปฏิบัติงานและให้ ผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิใช้บริการ โดยแต่ละจังหวัดจะมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คือ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด คณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคประจำจังหวัด ซึ่งอำนาจหน้าที่ดำเนินการเจรจา ไกล่เกลี่ยเรื่ องราวร้องทุกข์ให้แก่ผู้บริโภคหากคู่กรณีไม่ประสงค์และไม่ยินยอมให้ไกล่เกลี่ย ให้ คณะอนุกรรมการฯ รวบรวมและสอบสวนข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ เกี่ยวข้อง พร้อมนำเสนอ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดพิจารณาให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, 2564b) แต่การซื้อขาย ผ่านทางแอพพลิเคชั่นเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด มีผลทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นโอนไปยังผู้ซื้อทันที โดยผู้ขายมีหน้าที่เพียงส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งวิธีการที่ใช้ส่งมอบกันอย่างแพร่หลายในการซื้อขาย ผ่านแอพพลิเคชั่น คือการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับขนส่งของเพียงเท่านี้การส่งมอบย่อมสมบูรณ์ตาม กฎหมาย ผู้ซื้อเพียงแต่รอรับสินค้าที่ปลายทาง โดยผู้ซื้อไม่ทราบข้อมูลใดๆนอกจากหมายเลขในการส่ง พัสดุ ซึ่งตามหลักในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังไม่แยกเรื่องการโอนความเสี่ยงภัยออกจาก เรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ โดยถือว่าถ้ากรรมสิทธิยังอยู่กับฝ่ายใด เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายรับ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3