2566-2 ฐิตา ตุกชูแสง-การค้นคว้าอิสระ

4 บาปเคราะห์ (จารุภัทร กวีนันทวงศ์, 2559) เมื่อเกิดการสูญหายเสียหายโดยมิใช่ความผิดของผู้ขาย ผู้ ซื้อย่อมต้องรับผลทำให้ผู้ซื้อต้องรับกรรมบางอย่างมากกว่าการซื้อขายแบบเฉพาะหน้า แม้จะมีบท กฎหมาย ประกาศ หรือองค์กร รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นกำหนดโทษและวิธีดำเนินการ เพื่อช่วยเหลือผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ก็ตาม แต่ก็ยังทำให้เกิดปัญหาและภาระหน้าที่แก่ผู้ซื้อมากมาย อาทิ การได้รับสินค้าไม่ตรงกับคำโฆษณาของผู้ขายผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่เป็นแพลตฟอร์ม หรือผู้ขายขาย ส่งสินค้าผิดไปจากที่ตกลงทำสัญญากัน หรือกรณีที่เกิดข้อพิพาท แค่ผู้ซื้อไม่อาจหาพยานหลักฐาน เพียงพอในการดำเนินคดีกับผู้ขายสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่เป็นแพลตฟอร์มได้ แต่อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติหรือข้อบังคับซึ่งได้ตราขึ้นจึงยังไม่สามารถที่จะควบคุมปัญหา การซื้อขายสินค้าออนไลน์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่เป็นแพลตฟอร์มได้ กล่าวคือยังไม่สามารถที่จะแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว เนื่องจากยังคงมีผู้ซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่เป็นแพลตฟอร์มไม่ได้รับ ความเป็นธรรม หรือมีผู้ซื้อที่ประสบกับปัญหาต่างๆในการซื้อขายสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่เป็น แพลตฟอร์มอยู่ เป็นจำนวนมากโดยการเทียบจากรายงานของศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหา ออนไลน์ 1212 OCC จะเห็นว่าตัวเลขสถิติการรับเรื่องร้องเรียนผ่าน 1212 OCC ที่ผ่านมา พบว่าจำนวน เรื่องร้องเรียนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี โดยการสำรวจล่าสุดในปี พ.ศ. 2564 ได้รับเรื่องร้องเรียนจำนวน 49,996 ครั้ง ปัญหาที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดคือการซื้อขายของทางออนไลน์เป็นจำนวน 67.11 % ลำดับถัดมาเป็น ปัญหาเว็บไซต์ผิดกฎหมายจำนวน 23.06 % และหากลงรายละเอียดของปัญหาการซื้อขายของทางออนไลน์ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นปัญหาการสั่งซื้อสินค้าแล้วไม่ได้รับสินค้า หรือได้รับสินค้าไม่ตรงตามที่ตกลงทำ สัญญาซื้อขายกันไว้เป็นจำนวนมากถึง 47% ตามมาด้วย สินค้าไม่ได้มาตรฐานตามที่โฆษณาจำนวน 29% เป็นต้น (Komchadluek online, 2565) ด้วยเหตุดังกล่าว เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและป้องกันมิให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบในการ ทำสัญญากับผู้ขายสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่น จึงต้องมีกฎหมายหรือข้อบังคับเพื่อคุ้มครองผู้ซื้อสินค้า ผ่านแอพพลิเคชั่น ให้เกิดความเท่าเทียมกันในการซื้อขาย และป้องกันการเกิดข้อพิพาทที่มีแนวโน้มว่า จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุดังกล่าวงานวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะทำการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ คุ้มครองสิทธิของผู้ซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นที่ เป็นแพลตฟอร์มว่ามีอยู่ เพียงใด มีขอบเขตหรือ หลักเกณฑ์อย่างไร มีหน่วยงานหรือองค์กรใดเป็นผู้ดูแลตรวจสอบหรือไม่ และหาแนวทางป้องกันการ เกิดข้อพิพาทระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่เป็นแพลตฟอร์มต่อไป 1. 2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.2.1 เพื่อศึกษาปัญหาของผู้ซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่เป็นแพลตฟอร์ม 1.2.2 เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ซื้อสินค้า ผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่เป็นแพลตฟอร์ม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3