2566-2 ฐิตา ตุกชูแสง-การค้นคว้าอิสระ

5 1.2.3 เพื่อศึกษาถึงแนวทางในการคุ้มครองสิทธิของผู้ซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่เป็น แพลตฟอร์ม 1.3 คำถามการวิจัย มาตรการป้องกันการเกิดข้อพิพาทและการคุ้มครองสิทธิของผู้ซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่น ที่เป็นแพลตฟอร์ม ควรมีรูปแบบเป็นอย่างไร 1. 4 สมมุติฐานการวิจัย กลไกลทางกฎหมายที่บังคับใช้ในประเทศไทยเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ยังไม่ ครอบคลุมเพียงพอต่อการคุ้มครองสิทธิของผู้ซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่เป็นแพลตฟอร์ม 1.5 ขอบเขตการวิจัย ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัย ได้กำหนดขอบเขตของการศึกษาไว้ 2 ด้าน ดังนี้ 1.5.1 ขอบเขตด้านเนื้อหาศึกษาถึงแนวคิดเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าออนไลน์ แนวคิด เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายใน ประเทศไทย กฎหมายในต่างประเทศ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1.5.2 ขอบเขตผู้ ให้ข้อมูลสำคัญเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยภาคสนาม (Field Research) ด้วยการ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบไม่มีพิธีโดยการสัมภาษณ์อย่างเป็น ทางการด้วยการกำหนดประเด็นไว้ล่วงหน้า โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ ซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง กลุ่มผู้ขายสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และหน่วยงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองผู้บริโภคโดยตรง รวม 9 คน 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 1.6.1 ทำให้ทราบถึงปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้ซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่เป็น แพลตฟอร์ม 1.6.2 ทำให้ทราบถึงแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ซื้อ สินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่น 1.6.3 ทำให้ทราบถึงแนวทางในการคุ้มครองสิทธิของผู้ซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่เป็น แพลตฟอร์ม 1.7 คำนิยามศัพท์ แอพพลิเคชั่น หมายความว่า โปรแกรม หรือ กลุ่มของโปรแกรม ที่ถูกออกแบบสำหรับ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต เป็นต้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3