2566-2 ฐิตา ตุกชูแสง-การค้นคว้าอิสระ

7 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทนี้ เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายซึ่งประกอบไป ด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการ การทบทวนเอกสาร งานวิจัย และวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับ มาตรการทางกฎหมายในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ขายสินค้าออนไลน์ผ่านทางแอพพลิเคชั่น รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.1 แนวคิดและทฤษฎีแรงจูงใจกระตุ้นพฤติกรรมผู้บริโภค 2.2 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2.3 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการทำสัญญา 2.4 แนวคิดและนโนบายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค 2.5 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดและทฤษฎีแรงจูงใจกระตุ้นพฤติกรรมผู้บริโภค 2.1.1 ความหมายของแรงจูงใจกระตุ้นพฤติกรรมผู้บริโภค ความหมายของแรงจูงใจนั้น นักวิชาการด้านพฤติกรรมผู้บริโภคได้ให้ความหมาย และ คำอธิบายเกี่ยวกับแรงจูงใจไว้ ดังนี้ ศุภรณ์ เสรีรัตน์ (ศุภรณ์ เสรีรัตน์, 2545) อธิบายว่า แรงจูงใจเป็นเหตุผลของการกระทำ เป็นกลไกที่กระตุ้นพลังของร่างกายให้เกิดการกระทำและเป็นแรงบังคับให้กับพลังของร่างกายที่จะ กระทำอย่างมีทิศทาง สุภาภรณ์ พลนิกร (สุภาภรณ์ พลนิกร, 2548) อธิบายว่า แรงจูงใจ คือ ภาวะที่ถูก กระตุ้น ภายในแต่ละคน ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมที่มีจุดมุ่งหมาย หรือเป็นเหตุผลของพฤติกรรมแต่ละครั้ง แรงจูงใจประกอบไปด้วยแรงขับเคลื่อน ความเร่งเร้า ความปรารถนา และความจำเป็น Atkinson & Hilgard (Atkinson, R. L., & Hilgard, R. C, 1975) อธิบายว่า แรงจูงใจ เป็นสภาวะที่บุคคลถูกกระตุ้นเพื่อนำไปสู่พฤติกรรมที่จะบรรลุเป้าหมายของตนเอง โดยแรงจูงใจ ประกอบไปด้วยแรงขับ การกระตุ้น เร่งเร้า แรงปรารถนา หรือความต้องการ ที่จะก่อให้เกิดเหตุการณ์ ที่นำไปสู่พฤติกรรมในที่สุด จากคำอธิบายดังกล่าวข้างต้น คำว่าแรงจูงใจ คือแรงกระตุ้นให้บุคคลมีพฤติกรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการ หรือเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ โดยมีองค์ประกอบคือ แรงขับความเร่งเร้า ความปรารถนา และความจำเป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3