2566-2 ฐิตา ตุกชูแสง-การค้นคว้าอิสระ

8 ความหมายของพฤติกรรมผู้บริโภคนั้น นักวิชาการได้ให้ความหมายหรือแนวคิดไว้ ดังนี้ Kotler, Philip (Kotler, Philip, 2000) อธิบายว่า พฤติกรรมผู้ บริ โภค คือการ กระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดหาให้ได้มาแล้วซึ่งการใช้สินค้าและบริการ ทั้งนี้หมายรวมถึง กระบวนการตัดสินใจ และการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวกับการซื้อและการใช้สินค้า จากคำอธิบายดังกล่าวข้างต้น คำว่าแรงจูงใจกระตุ้นพฤติกรรมผู้บริโภค ย่อม หมายความว่า กลไกในการกระตุ้นเพื่อให้ผู้ซื้อทำการซื้อ การใช้สอยผลิตภัณฑ์ และการประเมินผล ซึ่ง คาดว่าจะตอบสนองความต้องการของตนเอง (Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L, 1994) 2.1.2 ที่มาของแรงจูงใจกระตุ้นพฤติกรรมผู้บริโภค พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคนั้นมักเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามแรงจูงใจที่ เป็นไปตามแต่ละยุคแต่ละสมัย โดยแรงจูงใจกระตุ้นพฤติกรรมผู้บริโภค คือการแสดงออกของผู้บริโภค แต่ละคนที่เกี่ยวข้องกับการใช้สินค้าและบริการ ทั้งยังเป็นกระบวนการในการตัดสินใจที่มีผลต่อการ แสดงออก (ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท, 2537) โดยปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นแรงจูงใจกระตุ้นพฤติกรรมผู้บริโภค ได้แก่ 1) พฤติกรรมทั่วไปของมนุษย์ (สุชาดา มะโนทัย, 2539) พฤติกรรมมนุษย์ เป็นความต้องการที่ทำให้เกิดกิจกรรมเพื่อตอบสนองตอบความต้องการ ที่เกิดขึ้น ความต้องการบางอย่างสามารถตอบสนองได้ทันที แต่บางอย่างต้องใช้เวลานานจึงจะ แสดงออกเป็นความต้องการได้ ทั้งต้องมีระดับวุฒิภาวะหรือความสามารถที่จำเป็นในการทำกิจกรรมเพื่อ สนองความต้องการ และมีสถานการณ์ อันเป็นเหตุการณ์ที่เปิดโอกาสให้เลือกทำกิจกรรมเพื่อสนอง ความต้องการ จากนั้นจึงจะมีการแปลความหมาย ก่อนที่จะทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งลงไป มนุษย์ จะพิจารณาสถานการณ์ก่อนแล้วจึงตัดสินใจเลือกวิธีการที่เกิดความพึงพอใจมากที่สุดเพื่อตอบสนอง ความต้องการโดยวิธีการที่ได้เลือกแล้วในขั้นแปลความหมาย โดยผลที่ได้รับอาจเป็นไปตามที่คาดคิด หรืออาจตรงข้ามก็ได้ ในกรณีที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ มนุษย์ก็อาจย้อนกลับไปแปล ความหมายของสถานการณ์และเลือกวิธีการใหม่ 2) พฤติกรรมด้านพุทธพิสัย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3