2566-2 ฐิตา ตุกชูแสง-การค้นคว้าอิสระ
62 2. ปัญหาการโฆษณาการขายสินค้าออนไลน์ ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อหรือมีหลักฐานตาม สมควรวา่ การโฆษณาสินค้านั้นเป็นการโฆษณาสินคา้ที่ไม่เป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อความที่ไม่ เป็นธรรมต่อ ผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม ไม่วา่ ข้อความดังกล่าวจะ เป็นขอ้ความที่เกี่ยวกบั แหล่งกา เนิด สภาพ คุณภาพ หรือลกั ษณะของสินคาหรือบริการการโฆษณา ที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง หรือขอ้ความที่จะก่อให้เกิดความเขา้ใจผดิในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินคา้ หรือบริการ 3. ปัญหาการฉ้อโกงจากการซื้อสินค้าออนไลน์ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ คุ้มครอง ผู้บริโภคพ.ศ.2522 ในมาตรา 14 ให้มี “คณะกรรมการวา่ ด้วยพาณิชยอิเล็กทรอนิกส์” และ ให้มีบทบัญญัติใน ส่วนที่ 2 ตรี ในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เจตริน ใจตรง (เจตริน ใจตรง, 2565) ศึกษาเรื่องปัญหาการบังคับใช้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการ ซื้อขายสินค้าประเภทกล่องสุ่มมีกรณี ดังนี้ ปัญหาประการที่หนึ่ง คือ ปัญหาการซื้อสินคา้โดยระบบสุ่ม ด้านคุณภาพของสินค้าและราคา สินค้า โดยพิจารณาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวขอ้งกบัการซื้อขายสินค้าประเภทกล่องสุ่มรวมทั้งปัจจัยใน การซื้อสินค้าและผลตอบแทนของสินค้า ทางออนไลน์ในปัจจุบันพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 ให้หลักไว้ว่า มาตรา 8 การจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชคโดยวิธีใดๆ ในการ ประกอบกิจการค้าหรืออาชีพ จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตก่อนจึงจะทำได้ มาตรา 14 ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 8 มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับตั้งแต่ 50 บาท ขึ้นไปจนถึง 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งจากกรณีศึกษานั้นการที่อินฟลูเอนเซอร์หรือ ใครก็ตามจะจัดให้มีการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคนั้น จะต้องทำใบอนุญาตแถมพก ตามมาตรา 8 มิ เช่นนั้นจะถือเป็นการผิดบทบัญญัติตามมาตรา 14 แห่ง พระราชบัญญัติการพนันโดยในกรณีที่ผู้ซื้อ ได้รับสินค้าที่ไม่เหมาะสมกับราคาหรือเรียกว่าไม่คุ้มค่าต่อราคา ปัญหาประการที่สอง คือ ปัญหาการซื้อขายสินคา้ประเภทกล่องสุ่มทางออนไลน์ในปัจจุบัน โดย ศึกษาว่าความสมบูรณ์ของสัญญาซื้อขายสินค้าประเภทกล่องสุ่ม การแสดงเจตนาเสนอสนองระหว่างผู้ ซื้อและผู้ขายรวมถึงหน้าที่และความรับผิดของผู้ซื้อและผู้ขายแม้ว่า แพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เป็น ตัวกลางในการสื่อสารอย่างShopee และ Lazada เป็นต้น จะมีเงื่อนไขและข้อกำหนดในการจำหน่าย กล่องสุ่ม เนื่องจากต้องทำตามกฎหมายและแนวทางปฏิบัติองเจา้หนา้ที่ที่เกี่ยวข้องการจัดให้มีกิจกรรม แถมพก ซึ่งสามารถรวมถึงการจำหน่ายกล่องสุ่มผู้จัดกิจกรรมหรือผู้จัดจำหน่ายจะต้องได้รับอนุญาต จากเจา้หนา้ที่ผู้ออกใบอนุญาต ก่อนจึงจะสามารถทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยมีเงื่อนไขดังนี้ 1. ยื่นเรื่องขอใบอนุญาตแถมพก ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการพนันพุทธศักราช 2478 จากกรมการปกครองและแสดงใบอนุญาตในหน้าสินค้า 2. มูลค่าของสินค้าภายในกล่องรวมแล้วต้องไม่ต่ำกว่าราคาจำหน่ายของสินค้า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3