2566-2 ฐิตา ตุกชูแสง-การค้นคว้าอิสระ
63 3. แสดงรายละเอียดสินคา้ที่ผู้ซื้อคาดว่าจะได้รับให้ชัดเจน เช่น รายการสินคา้ที่คาดว่ าจะ ได้รับมูลค่าสินค้าในกล่องเงื่อนไขและข้อกำหนดระยะเวลาลงขายสินค้า 4. ผู้ขายจะต้องไม่แสดงเนื้อหาที่บิดเบือนหรือสื่อไปในทางการพนัน 5. ผู้ซื้อสามารถคืนสินค้าได้ตามเงื่อนไขในการคืนเงินคืนสินค้าปกติ 6. สินค้าที่ขายต้องไม่ละเมิดนโยบายสิ่งของต้องห้ามและสิ่งของที่ถูกจำกัดรวมถึงนโยบาย อื่นๆที่เกี่ยวข้องบนแพลตฟอร์มช้อปปี้ ปัญหาประการที่สาม คือ ปัญหาถึงอุปสรรคและข้อจำกัดของกฎหมายที่เกี่ยวขอ้งกบักาซื้อ ขายสินค้าประเภทกล่องสุ่ม ปัญหาการนำมาตรา 465 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับใช้กับ การซื้อขายกล่องสุ่ม ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 465 นั้น วางหลักไว้ว่า มาตรา 465 ในการซื้อ ขายสังหาริมทรัพย์นั้น (1) หากว่าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินน้อยกว่าที่ได้สัญญาไว้ท่านว่าผู้ซื้อจะปัดเสีย ไม่รับเอาเลยก็ได้แต่ถ้าผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นไวผู้ซื้อก็ต้องใช้ราคาตามส่วน (2) หากว่าผู้ขายส่งมอบ ทรัพย์สินมากกว่าที่ได้สัญญาไว้ท่านว่าผู้ซื้อจะรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้แต่เพียงตามสัญญาและนอกกว่า นั้นปัดเสียก็ได้หรือจะปัดเสียทั้งหมดไม่รับเอาไว้เลยก็ได้ถ้าผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินอันเขาส่งมอบเช่นนั้น ไว้ทั้งหมดผู้ซื้อก็ต้องใช้ราคาตามส่วน (3) หากว่า ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามที่ได้สัญญาไว้ระคนกับ ทรัพย์สินนอย่างอื่นอันมิได้รวมอยู่ในข้อสัญญาไซร้ท่านว่า ผู้ซื้อจะรับเอาทรัพย์สินไว้แต่ตามแต่ตามสัญญา และนอกกว่านั้นปัดเสียก็ได้ หรือจะปัดเสียทั้งหมดก็ได้โดยคำว่า “สังหาริมทรัพย์” นั้น ตามมาตรา 140 หมายถึงทรัพย์ที่ไม่ใช่ อสังหาริมทรัพย์ซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าจะดูตามมาตรา 139 นั้น อสังหาริมทรัพย์หมายถึงที่ดินและทรัพย์สินอันติดกับที่ดินเป็นการถาวรโดยรวมถึงสิทธิอัน เกี่ยวกับ ทรัพย์สิน หรือทรัพยสิทธิด้วยจากการขายกล่องสุ่มนั้น เนื่องด้วยยังไม่มีวัฒนธรรมในการขายที่ดิน หรือโฉนดที่ดินหรือบ้าน ในกล่องสุ่มกล่าวคือยังไม่มีการขายกล่องสุ่มบ้าน หรือกล่องสุ่มที่ดินนั่นเอง ดังนั้น จึงสามารถนำเข้ามาปรับใช้ได้ ปัญหาประการที่สี่ คือ ปัญหาการซื้อกล่องสุ่มผ่านอิทธิพลจากอินฟลูเอนเซอร์โดยเป็นการซื้อ ผ่านระบบแพลตฟอร์มออนไลน์ จากการศึกษาพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จากการที่มีการโฆษณาหลอกลวงผบู้ริโภคเกิดขึ้น ดังนั้น จึงมีพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 เกิดขึ้นมา เพื่อคุม้ครองประชาชนจากการถูก หลอกลวงโดยการเสนอขายสินค้าโดยโฆษณาข้อมูลอันเป็นเท็จโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 นั้น ได้มีการให้หลักไว้ว่า มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ ระบุไว้ดังต่อไปนี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งรับ (1) โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยข้อที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งในกฎหมายนี้นั้นเป็นมาตรการณ์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3