2566-2 ฐิตา ตุกชูแสง-การค้นคว้าอิสระ

72 ผู้บริโภคได้ทันท่วงทีสมควรมีกฎหมายให้ความ คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคเป็นการทั่วไป โดยกำหนด หน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจการค้าและผู้ประกอบธุรกิจ โฆษณาต่อผู้บริโภค เพื่อให้ความเป็นธรรมตาม สมควรแก่ผู้บริโภค ตลอดจนจัดให้มีองค์กรของรัฐที่เหมาะสม เพื่อตรวจตราดูแลและประสานงานการ ปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ ในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภค 5) ขายของที่ไม่ได้คุณภาพ การขายของที่ไม่ได้คุณภาพนั้นเป็นปัญหาที่เกี่ยวกบัควบคุมการโฆษณาทางออนไลน์ในการ เปลี่ยนแปลงราคาตามใจผู้ขายอันจะกระทบต่อผู้บริโภค ซึ่งได้กำหนดบทลงโทษไว้ในมาตรา 41 แต่ข้อ กฎหมาย ดังกล่าวยังมิอาจเข้าถึงกลไกทางการค้ารูปแบบออนไลน์ที่ผู้บริโภคที่เป็นผู้เสียหายได้รับ ความเสียหาย ซึ่ง โดยมากแล้วจะเป็นการเสียหายเมื่อคิดเป็นตัวเงินแล้วสามารถคิดได้เป็นเงินจำนวน ไม่มากนักประกอบกับการ ดำเนินคดีทางศาลมีข้อจำกัดหรือข้อยุ่ งยากมากมายทำให้ผู้ เสียหาย ส่วนมากเลือกจะไม่ใช้สิทธิของตนเรียกร้อง ให้ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์รับผิด จึงมีความจำเป็นที่ จะต้องมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อให้ผู้เสียหายแต่ละ รายได้เข้าถึงกระบวนการดำเนินคดีง่ายขึ้น ทั้งนี้พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก สินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 มาตรา 5 ได้กำหนดให้ผู้ขายหรือในอีกแง่หนึ่งคือผู้ประกอบธุรกิจทุกคนต้อง ร่วมกันรับผิดต่อความเสียหายที่ เกิดขึ้นจากสินคา้ที่ไม่ปลอดภัยผู้ขายจะยกเว้น หรือจำกัดความรับผิดชอบของ ตนล่วงหน้าไม่ได้และ เพื่อป้องกันสิทธิของผู้บริโภคผู้เขียนเห็นวาผู้ซื้อควรได้รับสิทธิที่จะ ได้รับการประกันสินค้า หรือบริการ โดยผู้ขายต้องจัดทำคำรับประกันสินค้าหรือบริการเป็นภาษาไทยและระบุถึงสิทธิของผู้บริโภคอย่าง ชัดเจนเข้าใจง่ายประกอบการซื้อขายสินคา้ออนไลน์ทุกครั้งด้วย 4.3 ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลของผู้ขายสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น การซื้อขายสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นที่เป็นแพลตฟอร์ม ผู้ซื้อจะตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลที่ นำเสนอผ่าน ทางแอพพลิเคชั่นที่เป็นแพลตฟอร์มเท่านั้น ไม่ได้มีการพบปะหรือติดต่อกับผู้ขายโดยตรง ทำให้เกิดปัญหา เนื่องจากผู้ขายบางรายฉวยโอกาสด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อขายสินค้า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้ซื้อ ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้ผู้ขายต้องเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย ให้แก่ผู้ซื้อ แต่ผู้ซื้อไม่สามารถได้รับการ ชดใช้เยียวยาและเรียกร้องสิทธิต่างๆ ได้ เนื่องจากไม่สามารถ ติดตามตัวผู้ขายได้เพราะบางแอพพลิเคชั่นที่เป็น แพลตฟอร์มไม่ได้จัดให้มีการลงทะเบียนหรือเก็บ ข้อมูลของผู้ขาย ทำให้ไม่สามารถควบคุมดูแลผู้ขายและไม่ สามารถป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ เมื่อผู้ ซื้อไม่สามารถตรวจสอบตัวตนของผู้ขายได้เพราะผู้ขายมักจะไม่ใช้ ชื่อจริงหรือข้อมูลจริง ลักษณะ ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ซื้อ ซึ่งตามพระราชบัญญัติทะเบียน พาณิชย์พ.ศ. 2499 มาตรา 5 (4) มาตรา 6 (1) และมาตรา 8 กำหนดให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจอันหมายถึง บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลซึ่งประกอบพาณิชยกิจเป็นอาชีพปกติ ในการซื้อ การขาย จะต้องจดทะเบียน พาณิชย์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3