2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
95 (กรมชลประทาน, 2566) การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยการเวนคืนของกรมชลประทานอันเป็น หน่วยงานภาครัฐ ต้องดำเนินการให้เป็นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่ง อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 แรกเริ่มต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเพื่อกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ก่อน ตามมาตรา 7 บัญญัติไว้ว่า “เมื่อรัฐมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งที่ดินเพื่อการอันจำเป็นใน กิจการสาธารณูปโภค การป้องกันประเทศ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อประโยชน์ สาธารณะอย่างอื่น หรือเพื่อนำไปชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตาม พระราชบัญญัตินี้ เมื่อมิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่นให้เวนคืนตามหมวดนี้” และมาตรา 8 “เมื่อมีความจำเป็นต้องเวนคืนที่ดินตามมาตรา 7 และจำเป็นต้องสำรวจเพื่อให้ทราบถึงที่ดินที่ต้อง ได้มาโดยแน่ชัด ให้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน โดยต้องกำหนดรายละเอียดที่ สำคัญ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์แห่งการเวนคืน 2) ระยะเวลาการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา 3) แนว เขตที่ดินที่จะเวนคืนเท่าที่จำเป็น 4) ระยเวลาการเริ่มต้นเข้าสำรวจ 5) เจ้าหน้าที่เวนคืน 6) แผนที่หรือ แผนผังแสดงแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน” และให้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อพระ ราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้จะกำหนดระยะเวลาการบังคับใช้ไว้เพียงห้าปี ตามกำหนดไว้มาตรา 9 บัญญัติไว้ว่า “ระยะเวลาการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 8 (2) ให้กำหนดเท่าที่จำเป็นเพื่อ การสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ และการรังวัดที่ดิน แต่จะกำหนดเกินห้าปีมิได้” นอกจากนี้ให้ เจ้าหน้าที่เผยแพร่พระราชกฤษฎีกาให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป โดยเฉพาะสำนักงานที่ดินจังหวัด และสำนักงานที่ดินอำเภอในท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ตามมาตรา 11 จากบทบัญญัติดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงกระบวนการและขั้นตอนการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้ได้มาซึ่งการเวนคืนและการ ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์จากประชาชนที่อยู่ภายในขอบเขตการเวนคืนของหน่วยงานภาครัฐเพื่อนำ ที่ดินไปใช้กิจการสาธารณูปโภคหรือประโยชน์สาธารณะอื่นตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้น ๆ เมื่อ พิจารณาพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 พบว่า กำหนดวิธีการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยการเวนคืนที่ดินของรัฐหรือกรมชลประทาน มีอยู่ด้วยกัน สองวิธีการด้วยกันภายหลังจากการตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเวนคืนแล้ว วิธีการที่หนึ่ง เป็นการที่หน่วยงานรัฐได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยวิธีการซื้อขาย ด้วยการ จัดซื้อโดยวิธีการเจรจาปรองดอง เนื่องจากการจัดซื้อเป็นวิธีการที่นิ่มนวลที่สุด ผู้ซื้อฝ่ายเจ้าหน้าที่ ของรัฐกับผู้ขายเจ้าของที่ดิน เป็นการซื้อขายแบบมีสิ่งแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน โดยเจ้าของที่ดินได้รับ เงินค่าทดแทนทรัพย์สิน พร้อมทั้งได้รับประโยชน์โดยตรงจากการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค และ ด้านการเกษตร จึงตกลงยินยอมขายที่ดินให้ กรณีนี้จึงเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยวิธีการซื้อ ขายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ตามมาตรา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3