2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
97 นี้ย่อมส่งผลกระทบที่เป็นการตัดสิทธิหรือจำกัดสิทธิเจ้าของเดิมหรือทายาทที่ยินยอมและสละที่ดิน ของตนขายให้กับหน่วยงานของรัฐโดยเห็นแก่ประโยชน์สาธารณะส่วนร่วม เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ กรณีที่เจ้าของเดิมหรือทายาทที่ถูกบังคับให้ขายที่ดินเวนคืนโดยตราเป็นพระราชบัญญัติเวนคืนได้รับ สิทธิในการขอคืนที่ดินดังกล่าว จะเห็นได้ว่าทั้งสองกรณีเป็นผลจากการที่รัฐกำหนดเป็นพระราช กฤษฎีกาเวนคืนที่ดินเหมือนกัน แม้ว่าวิธีการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เวนคืนที่ดินจะแตกต่างกัน แต่เจ้าของเดิมหรือทายาทผู้ที่ยินยอมสละที่ดินเวนคืนให้กับรัฐ ไม่ควรกลับกลายเป็นผู้ที่ถูกจำกัดสิทธิ หรือไม่ได้รับสิทธิในการขอคืนที่ดินจากหน่วยงานของรัฐเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมใน การออกกฎหมายมาตรา 52 บังคับใช้เพื่อจำกัดสิทธิของเจ้าของเดิมหรือทายาทที่ถูกเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ด้วยวิธีการซื้อขาย ซึ่งการออกกฎหมายลักษณะนี้ย่อมเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 26 บัญญัติว่าการตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิ หรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้ บัญญัติเงื่อนไขไว้กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรมซึ่งเป็นสาระสำคัญของการจัดทำบริการ สาธารณะของทางฝ่ายปกครองหรือรัฐในการตรากฎหมายนั้นต้องคำนึงถึงเจตจำนงร่วมกันของ ประชาชน ต้องไม่เป็นกฎหมายที่จำกัดถึงเสรีภาพของบุคคลเพื่อให้เกิดความสงบสุขของสังคมส่วนรวม และเป็นการกำจัดสิทธิเสรีภาพของฝ่ายปกครองในการนำข้อกฎหมายไปบังคับใช้ให้ถูกต้องและไม่เป็น การใช้อำนาจดังกล่าวเป็นไปตามอำเภอใจ นอกจากนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติรับรองสิทธิเจ้าของเดิมหรือทายาทไว้ในมาตรา 37 วรรคสอง เป็นการเวนคืนเพื่อ ประโยชน์สาธารณะและมาตรา 37 วรรคสี่ “ถ้ามิได้ใช้ประโยชน์เพื่อการนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือมีอสังหาริมทรัพย์เหลือจากการใช้ประโยชน์และเจ้าของเดิมหรือทายาทประสงค์จะได้คืนให้คืนแก่ เจ้าของเดิมหรือทายาท” ซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญย่อมจะให้สิทธิแก่เจ้าของเดิมหรือทายาท อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม สิทธิในการเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ตามบทบัญญัติมาตรา 53 ที่กำหนดให้สิทธิ เจ้าของเดิมหรือทายาทผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์สามารถร้องของคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวต่อ เจ้าหน้าที่ได้ แต่ทั้งนี้ยังพบว่า กระบวนการคืนอสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าของเดิมหรือทายาทดังกล่าว มีประเด็นปัญหา กล่าวคือ ในบทบัญญัติมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการ ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 กำหนดไว้ว่า “การคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้ บังคับกับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จากการซื้อขายตามหมวด 4 การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยวิธีการ ซื้อขาย” ซึ่งมีความไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 37 วรรคห้า ที่บัญญัติไว้ว่ากฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุวัตถุประสงค์แห่ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3