2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

98 การเวนคืนและกำหนดระยะเวลาการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ให้ชัดแจ้ง ถ้ามิได้ใช้ประโยชน์เพื่อการนั้น ภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือมีอสังหาริมทรัพย์เหลือจากการใช้ประโยชน์ และเจ้าของเดิมหรือ ทายาทประสงค์จะได้คืน ให้คืนแก่เจ้าของเดิมหรือทายาท ดังนั้น ข้อกฎหมายดังกล่าวให้การคุ้มครอง แก่เจ้าของเดิมหรือทายาทที่ถูกบังคับให้ขายโดยตราเป็นพระราชบัญญัติเวนคืนได้รับสิทธิในการขอคืน ที่ดิน แต่กลับตัดสิทธิเจ้าของเดิมหรือทายาทที่ยินยอมและสละที่ดินของตนขายให้กับหน่วยงานของรัฐ โดยเห็นแก่ประโยชน์สาธารณะส่วนร่วม โดยทั้งสองกรณีเป็นผลจากการที่รัฐกำหนดเป็นพระราช กฤษฎีกาเวนคืนเหมือนกัน ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับเจ้าของเดิมหรือทายาทผู้ที่ถูกจำกัดสิทธิ ในการร้องขอคืนที่ดินดังกล่าวเพื่อกลับคืนสู่ตน และเพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ ระบุไว้เพียงให้คืนที่ดินให้กับเจ้าของเดิมหรือทายาทเพื่อนำที่ดินกลับไปใช้ประโยชน์ภายหลังจาก หน่วยงานของรัฐไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์แล้วและไม่ได้มุ่งหมายที่จะให้บุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจง เนื่องจากต้องการคืนกรรมสิทธิ์ให้กับเจ้าของเดิมหรือทายาททุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติว่ากรรมสิทธิ์ใน ที่ดินจะโอนเป็นของรัฐแล้วหรือไม่ ประเด็นปัญหาขอบเขตเขตการใช้สิทธิยื่นคำร้องขอคืนอสังหาริมทรัพย์ของเจ้าของเดิมหรือ ทายาท คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีการตีความ เรื่อง การคืนที่ดินที่เวนคืนมาเพื่อก่อสร้างทางแต่ไม่ได้ ใช้ก่อสร้างทางให้แก่เจ้าของที่ดินเดิม ในบันทึกสำนักงานกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 500/2549 มีใจความ สำคัญ คือ “บทบัญญัติมาตรา 49 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนและกำหนด ระยะเวลาการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ไว้ให้ชัดแจ้ง ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนดต้อง คืนให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาท แต่ในกรณีมิได้มีการออกกฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงไม่มีการ กำหนดระยะเวลาการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ไว้ให้ชัดแจ้ง กรณีจึงไม่ต้องด้วยเงื่อนไขของมาตรา 49 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งบทบัญญัติให้รัฐต้องคืนให้แก่เจ้าของที่ดินเดิม หรือทายาทถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนด” ต่อมาได้มีคำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 1956/2550 โดยศาลปกครอง กลางได้วินิจฉัยไว้ในคดีที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ ไทย เป็นผู้ถูกฟ้องคดีในประเด็นที่ผู้ถูกฟ้องคดีอ้างว่ามาตรา 49 วรรคสาม รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้มาโดย การออกเป็นพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ดังนั้นบทบัญญัติมาตรา 49 จึงไม่บังคับใช้ กับการได้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์มาโดยการทำข้อตกลงสัญญาซื้อขาย และไม่มีความจำเป็นว่าที่ดิน ในกรณีดังกล่าวได้ใช้ประโยชน์หรือมิได้ใช้ประโยชน์ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อกฎหมายหรือไม่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3