2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
99 ศาลได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ทำการฟ้องคดีทั้งห้าตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ จะเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ ตามนัยมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ทั้งนี้ หากผู้ฟ้องคดีทั้งห้า ไม่ยินยอมในการทำสัญญา ตกลงซื้อ ขายผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองก็จำเป็นต้องดำเนินการออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาเป็นของ รัฐต่อไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ขั้นตอนการตกลงทำสัญญาซื้อขายจึงเป็นกระบวนการหนึ่งของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และไม่ถือเป็นการซื้อขายโดยความสมัครใจของผู้ฟ้องคดีทั้งห้าเช่นเดียวกันกับการทำสัญญาซื้อขายกัน ตามปกติ ซึ่งหมายความว่า ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีให้การกล่าวอ้างเท่ากับว่าผู้ถูกเวนคืนที่ยินยอมตกลงทำ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลซึ่งให้ความร่วมมือกับภาครัฐกลับไม่ได้รับความ คุ้มครองตามกฎหมาย แต่ในทางกลับกันผู้ถูกเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ยินยอมตกลงทำ สัญญาซื้อขายซึ่งก่อให้เกิดภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่จะต้องตราพระราชบัญญัติเวนคืน อสังหาริมทรัพย์เพื่อให้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวตกเป็นของรัฐ กลับได้รับการคุ้มครองตาม กฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน ดังนั้นต่อไปผู้ถูกเวนคืนก็คงไม่ยินยอมที่จะทำสัญญาซื้อ ขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน โดยจะกลายเป็นการเพิ่มภาระให้แก่เจ้าหน้าที่และหน่วยงานภาครัฐ กล่าวคือ เมื่อการการทำสัญญาซื้อขายด้วยการเจรจาปรองดองในระหว่างที่พระราชกฤษฎีกากำหนด เขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับ เป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ภาครัฐจึงมีหน้าที่ ต้องคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวให้เจ้าของเดิมหรือทายาทหากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ที่ได้มาโดยการทำสัญญาซื้อขายมิได้นำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืน แนวทางการให้สิทธิเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้ถูกเวนคืน ตามคำวินิจฉัยของศาลปกครอง ในคดีดังกล่าวสามารถนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการ เวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ในการให้สิทธิการเรียกคืนที่ดินหรือ อสังหาริมทรัพย์ทั้งผู้ซึ่งถูกบังคับเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืน และผู้ที่ทำสัญญาซื้อขายตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ซึ่งในประเด็นดังกล่าว เห็นควรที่จะให้สิทธิเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน และผู้ที่ตกลงทำสัญญาซื้อขายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ด้วย เนื่องจาก การทำสัญญาซื้อขายด้วยการเจรจาปรองดองในระหว่างที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณ ที่จะเวนคืนตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3