2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
100 2562 มีผลใช้บังคับซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากหากผู้ถูก เวนคืนไม่ยินยอมในการทำสัญญาตกลงซื้อขาย หน่วยงานภาครัฐ ก็จำเป็นต้องดำเนินการออก พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาเป็นของรัฐต่อไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและ การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระให้แก่เจ้าหน้าที่และหน่วยงานภาครัฐ เมื่อได้พิจารณาถึงลักษณะของสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาทางปกครอง หาใช่สัญญาทาง แพ่งไม่ เนื่องจากมีลักษณะสำคัญที่ควรพิจารณา คือ 1. เป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลที่กระทำแทนรัฐ 2. มีลักษณะเป็นสัญญาทางสัมปทาน เพื่อจัดทำซึ่งบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือเป็นการแสวงหาประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติ 3. มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ 4. ข้อกำหนดในสัญญามีลักษณะพิเศษ รัฐมักจะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขในสัญญาฝ่ายเดียว 5. นิติสัมพันธ์ของคู่สัญญามีลักษณะรัฐเอกสิทธิ์หรือ กว่าเอกชนคู่สัญญา 6. รัฐสามารถบังคับตามสัญญาได้โดยใช้มาตรการบังคับทางปกครองเพื่อ ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ และ 7. คดีอยู่ในเขตอำนาจศาล ปกครอง ประกอบกับเมื่อได้พิจารณาวิธีการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยการเวนคืนที่ดิน ทด.04 (หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายของกรมชลประทาน) มีลักษณะจัดตั้งคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินเพื่อการ ชลประทานเป็นผู้กำหนดราคาค่าทดแทนยึดถือตามมาตรา 19 การแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ กำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์เบื้องต้นและเงินค่าทดแทน และมาตรา 20 ในการกำหนดราคาเบื้องต้น สำหรับที่ดินที่เวนคืน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 แต่ฝ่ายเดียว เจ้าของที่ดินไม่มีเสรีภาพในการทำสัญญา (Freedom of contract) และอิสระ ในทางแพ่ง (Private autonomy) ที่จะเลือกคู่สัญญาหรือเจรจาต่อรองกำหนดข้อสัญญาได้อย่าง แท้จริง ดังนั้น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน (ทด.04) จึงเป็นสัญญาทางปกครอง ซึ่งต้องมีบทบัญญัติชั้น พระราชบัญญัติให้อำนาจในการทำสัญญาไว้อย่างชัดเจน ไม่อาจอ้างมติคณะรัฐมนตรี ที่ นว 155/2500 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2500 ได้ เพราะมติคณะรัฐมนตรีเป็นนโยบายของฝ่ายบริหารแต่การ นำไปปฏิบัติจะต้องมีกฎหมายรองรับ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายอาจเป็นเหตุฟ้องคดีต่อศาลปกครองตาม มาตรา 9 (1) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 อีกทั้งในทาง ปฏิบัติแล้วหากผู้ถูกเวนคืนทำสัญญาตกลงซื้อขายกับหน่วยงานภาครัฐมีข้อโต้แย้งถึงความไม่เป็นธรรม ของกระบวนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ผู้ถูกเวนคืนก็จะต้องเตรียมพยานหลักฐานเพื่ออาศัยอำนาจ ในการฟ้องร้องศาล เพื่อให้ตนเองกลับคืนสู่สภาพเดิมที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ อัน เป็นการสร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจำเป็น เพราะเมื่อต่อมารัฐหมดความจำเป็นที่จะใช้ ประโยชน์ การที่ที่ดินดังกล่าวได้กลับไปยังเอกชนเจ้าของเดิมโดยเจ้าของเดิมหรือทายาทมีหน้าที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3