2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

101 จะต้องคืนเงินค่าทดแทนที่ได้รับไปคืนให้กับรัฐพร้อมดอกเบี้ย จึงส่งผลให้เงินค่าทดแทนที่จ่ายไปแก่ ราษฎรกลับคืนสู่รัฐ และภาคเอกชนก็สามารถใช้สอยที่ดินดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ตามสิทธิ ในทรัพย์สินที่พึงมีต่อไปและให้สอดคล้องกับความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) มีความเห็นตามเรื่องเสร็จที่ 926/2559 ได้พิจารณบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมีความเห็นว่า ที่ดินที่ได้จากการเวนคืนหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ใช้บังคับได้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จากการเวนคืนไว้ว่า หากมิได้เข้า ใช้ภายในระยะเวลาที่กำหนดต้องคืนให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาท กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่หน่วยงานของ รัฐเวนคืนมา จึงยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐโดยเด็ดขาด ดังนั้นพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและ การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 มาตรา 52 ที่บัญญัติไว้ว่า “การคืนอสังหาริมทรัพย์ตาม พระราชบัญญัตินี้ไม่ให้บังคับกับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จากการซื้อขายตามหมวด 4 การได้มาซึ่ง อสังห าริมทรัพย์โดยวิธีการซื้อขาย” เป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของผู้ถูก เวนคืนที่ดินห รือ อสังหาริมทรัพย์ด้วยวิธีการซื้อขาย เป็นการขัดต่อ มาตรา 26 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ผลการสัมภาษณ์ กลุ่มหน่วยงานภาครัฐและกลุ่มภาคประชาชน มีความคิดเห็นในแนว เดียวกันว่านอกจากที่จะให้สิทธิเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการ เวนคืนแล้วนั้น ควรที่จะให้สิทธิเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้ที่ตกลงทำสัญญาซื้อขายตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ด้วย เพื่อให้เจ้าของเดิมหรือทายาทสามารถใช้ ประโยชน์ในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่มิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ตามที่ได้กำหนดไว้ในพระ ราชกฤษฎีกาเวนคืนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเงินค่าทดแทนที่ผู้ถูกเวนคืนจะได้กลับคืนสู่ภาครัฐเพื่อ นำไปใช้ดำเนินโครงการอื่นของรัฐเพื่อให้ก่อประโยชน์สาธารณะต่อไป ผลสรุป เมื่อได้วิเคราะห์กับมาตรา 52 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่ง อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 เรื่องการจำกัดสิทธิของเจ้าของเดิมหรือทายาทกรณีการซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ งานวิจัยแนวคิดเรื่องกรรมสิทธิ์และประโยชน์สาธารณะ กรณี เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด มีผลการศึกษาพบว่า การจัดทำบริการ สาธารณะของรัฐให้บรรลุวัตถุประสงค์หน่วยงานรัฐที่ให้อำนาจเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องดำเนินการ ตามกฎหมาย แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของประชาชนด้วย ดังที่รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยให้ความคุ้มครองไว้ จากการดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ประกอบกับการใช้บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แนวคิดทฤษฎีเรื่องหลักเสรีภาพในการทำสัญญาและผลการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3