2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
105 รวมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ได้รับเงินค่าทดแทนหรือนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ วางเงินค่าทดแทนจนถึงวันที่ยื่นคำร้องขอคืน เมื่อพิจารณาบทบัญญัติดังกล่าวกับหลักการจำกัดสิทธิ์ ในทรัพย์สินของเอกชนผู้ถูกเวนคืนแล้ว พบว่าแม้การเวนคืนอันเป็นการจำกัดสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้ถูก เวนคืนโดยปราศจากความยินยอมนั้นจะได้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่เป็นธรรมให้กาผู้ถูกเวนคืนก็ตาม แต่เมื่อหน่วยงานของรัฐผู้เวนคืนไม่ได้นำเอาที่ดินที่เวนคืนไปใช้ในประโยชน์ตามวัตถุประสงค์แห่งการ เวนคืน แล้วเจ้าของที่ดินเดิมหรือทายาทขอคืนที่ดินดังกล่าว เหตุใดจึงต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มเติมจาก จำนวนเงินค่าทดแทนที่ได้รับไว้ การกระทำของหน่วยงานของรัฐที่เวนคืนที่ดินของเอกชนไปแต่กลับ ไม่ได้นำไปใช้จัดทำบริการสาธารณะ เพราะฉะนั้น บทบัญญัติที่กำหนดให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ เจ็ดครึ่งต่อปี จึงเป็นบทบัญญัติที่ไม่ยุติธรรมต่อเจ้าของเดิมหรือทายาทและ ไม่สอดคล้องกับ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ปรับปรุงอัตราดอกเบี้ย ตามกฎหมาย โดยมีสาระสำคัญ คือ อัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้กำหนดไว้ก่อนหรือไม่ได้มีกฎหมายกำหนด ในมาตรา 7 ปรับลดจากอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเป็นอัตราร้อยละสามต่อปี และแก้ไขมาตรา 244 อัตราดอกเบี้ยผิดนัดปรับลดจากร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเป็นอัตราร้อยละห้าต่อปี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่ปรับ ลดลงนี้เป็นอัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ร้อยละสามต่อปี บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564, 2564) ดังนั้น เพื่อให้มีผลบังคับใช้กฎหมายจึง เห็นควรปรับปรุงแก้ไขประเด็นการขอคืนที่ดินที่ เวนคืนโดยเจ้าของเดิมหรือทายาทที่ขอคืนจะต้องคืนเงินค่าทดแทนในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินให้แก่รัฐ พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ได้รับเงินค่าทดแทนหรือนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ วางเงินค่าทดแทนจนถึงวันที่ยื่นคำร้องขอคืน เมื่อพิจารณาถึงการถูกจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของผู้ถูก เวนคืนที่ดิน ผู้ถูกเวนคืนไม่มีทางเลือกนอกจากการตกลงทำสัญญาซื้อขายตามพระราชบัญญัติว่าด้วย การเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 หรือหากไม่ตกลงซื้อขายรัฐจำเป็นที่จะต้องใช้ มาตรการทางกฎหมาย คือการออกพระราชบัญญัติเวนคืนมาบังคับใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินตามมาตรา 28 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินของเอกชนโดยผู้ถูกเวนคืนจะได้รับเงินค่าทดแทน อันเป็นการใช้เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครองเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ เพราะฉะนั้นเมื่อรัฐไม่ได้นำที่ดินไป ใช้เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนและเจ้าของเดิมหรือทายาทผู้ถูกเวนคืนมีความ ประสงค์จะใช้สิทธิขอคืนที่ดินที่ถูกเวนคืนไป แม้จะสมควรกำหนดให้คืนเงินค่าทดแทนที่รับไปคืนแก่รัฐ แต่ควรคำนึงถึงความเสียหายของเอกชนผู้ถูกเวนคืนที่ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ และได้รับความ เสียหายจากการถูกจำกัดสิทธิในทรัพย์สินโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3