2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

106 ดังนั้น จึงเห็นควรมีการพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยที่จะต้องคืนพร้อมเงินค่าทดแทนในส่วนที่ เกี่ยวกับที่ดินให้แก่รัฐ โดยแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน และการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 “เจ้าของเดิมหรือทายาทซึ่งร้องขอคืนที่ดิน ต้องคืนเงิน ค่าทดแทนในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินที่เจ้าหน้าที่ได้จ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิ รวมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละห้า ต่อปีนับแต่วันที่ได้รับเงินค่าทดแทนหรือนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่วางเงินค่าทดแทนจนถึงวันที่ยื่นคำร้อง ขอคืน เว้นแต่เจ้าของเดิมหรือทายาทจะพิสูจน์ได้ว่า เงินค่าทดแทนที่จะต้องคืนเมื่อรวมกับดอกเบี้ย แล้วจะสูงกว่าราคาในท้องตลาดของที่ดินที่ขอคืน ในกรณีเช่นนั้นให้เจ้าของเดิมหรือทายาทคืนเงิน เท่าที่ไม่เกินราคาในท้องตลาดของที่ดินนั้น ทั้งนี้ โดยใช้ราคา ณ วันที่ยื่นคำร้องขอคืน” แต่ทั้งนี้การดำเนินการก่อสร้างโครงการของรัฐในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากการ เวนคืน หลายโครงการไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาห้าปี ดังนั้นการกำหนด ระยะเวลาร้องขอคืนไว้สามปีจึงเป็นระยะเวลาที่น้อยเกินไป เพื่อดำเนินการยื่นคำร้องขอคืนที่ดินและ การพิจารณาคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาท เมื่อได้พิจารณาเปรียบเทียบกับ ข้อกฎหมายกับทฤษฎีกฎหมายมหาชน ได้แก่ หลักการคุ้มครองสิทธิและสิทธิในทรัพย์สิน ถือเป็นหลัก สำคัญของรัฐเสรีประชาธิปไตย การกระทำของหน่วยงานรัฐต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับคุณค่าอัน สูงสุดของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนจึงเป็นรากฐานที่สำคัญที่รัฐต้องให้การ รับรองและให้ความคุ้มครองแก่ประชาชน โดยต้องบัญญัติรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพอันเป็น สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนไว้ในกฎหมายสูงสุดของประเทศอันได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย เพื่อเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงการเคารพ และให้การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งมีมูลฐาน มาจากการคุ้มครองสิทธิของมนุษย์ตามหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ในฐานะที่มนุษย์เกิดมาย่อม ต้องมีสิทธิแห่งความเสมอภาคในการเป็นมนุษย์มีสิทธิในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และเสรีภาพ สิทธิในทรัพย์สิน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานประการหนึ่งที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ที่มิอาจ พรากไปเสียได้ เป็นเรื่องที่ซื้อขายและขาดกันไม่ได้ ดังนั้น รัฐไม่อาจเข้าไปกล้ำกรายได้โดยอำเภอใจ ซึ่งจะเห็นได้ว่า การมีแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดสิทธิในทรัพย์สินว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานเพื่อใช้เป็น หลักประกันต่อการพัฒนาบุคคลภาพของปัจเจกชนนั้น เพราะการยอมรับสิทธิดังกล่าวเท่ากับเป็นการ ปฏิเสธอำนาจ สิทธิขาดของรัฐที่จะเข้ามากระทำการอันเป็นการกระทบสิทธิในทรัพย์สินของเอกชน เนื่องจากสิทธิขั้นพื้นฐานเกิดขึ้นเพื่อกันส่วนที่เรียกว่าเป็นดินแดนอิสระของปัจเจกชนให้พ้นจากการเข้า มายุ่งเกี่ยวของรัฐ ดังนั้น การที่มาตรา 53 วรรคสอง มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน จึงส่งผลเสียต่อการ คุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของประชาชนที่ถูกกำหนดตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3