2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

113 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และ ข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผล การคุ้มครองสิทธิและการคืนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้ถูกเวนคืน ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดหาที่ดินเพื่อ การชลประทาน การวิจัยดังกล่าวกำหนดวัตถุประสงค์ ในการศึกษาเพื่อแก้ไขปรับปรุงข้อกฎหมายกับ การได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ปัญหาปัญหาสิทธิของผู้ถูกเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ด้วย วิธีการซื้อขาย และปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาขอคืนกรรมสิทธิในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน โดยใช้วิธีการศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล แนวความคิดในการ รับรองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล แนวคิดเกี่ยวกับหลักนิติธรรมกับการบริการสาธารณะ แนวคิด เกี่ยวกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ แนวคิดเกี่ยวกับหลักความได้สัดส่วน แนวคิดเกี่ยวการเวนคืน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566 – 2570 รวมถึงตำรา เอกสาร และบทความวิจัยของไทยและต่างประเทศ การเก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งสามารถอภิปราย ผลการวิจัยได้ในหัวข้อต่อไปในข้อ 5.2 ดังนี้ 5.2 อภิปรายผล 1. ปัญหาสิทธิของผู้ถูกเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ด้วยวิธีการซื้อขาย จากการศึกษา พบว่า การจัดทำบริการสาธารณะของรัฐให้บรรลุวัตถุประสงค์หน่วยงานรัฐที่ใช้อำนาจเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ซึ่งต้องอาศัยอำนาจตามกฎหมาย แต่ในทางกลับกันก็มุ่งที่จะคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สิน ของประชาชนด้วย ดังที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรให้ความคุ้มครองไว้ เมื่อได้ดำเนินการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบกับ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ในการพิจารณาการ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาทให้ สอดคล้องกับมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ศาลปกครองได้ให้ความสำคัญกับการ คุ้มครอง “หลักกรรมสิทธิ์ของเอกชน” หรือ “ประโยชน์ของปัจเจกชน” โดยให้พิจารณาถึง เจตนารมณ์ของบทบัญญัติมากกว่าการคุ้มครอง “ประโยชน์สาธารณะ” แต่ทั้งนี้ในการคุ้มครอง “ประโยชน์ปัจเจกชน” จะกำหนดให้เป็นไปแค่เพียงตามที่กฎหมายกำหนดขอบเขตให้อำนาจตาม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3