2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
116 การตัดสิทธิเจ้าของเดิมหรือทายาทในการขอคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้ใช้ตามวัตถุประสงค์แล้ว ตลอดจนการกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ของเจ้าของเดิมหรือ ทายาทที่กำหนดระยะเวลาน้อยเกินไป โดยนับแต่มีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวแล้วนั้น ก็ยังมิได้เป็น การแก้ไขปัญหาของการคุ้มครองสิทธิและการคืนกรรมสิทธิ์ให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาทอย่างแท้จริง ส่งผลให้เกิดปัญหาในการพิจารณาการคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาท จากการบังคับ ใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 อีกทั้งการบังคับใช้ บทบัญญัติดังกล่าวไม่สอดคล้องตามทฤษฎีเกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และไม่สอดคล้องกับ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จากผลการศึกษาพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 มาตรา 53 วรรคสอง พบปัญหาในการนำบทบัญญัติไปบังคับใช้ในเรื่องการตัดสิทธิเจ้าของ เดิมหรือทายาทในการขอคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้ใช้แล้วตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืน เห็นควรที่จะแก้ไขปรับปรุงแก้ไขประเด็นการคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามมาตรา 53 ที่เป็น บทบัญญัติเรื่องการคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาท โดยเมื่อได้พิจารณาถึงเอกสิทธิ์ใน การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายที่มีอำนาจเหนือเอกชนและเป็นการจำกัดสิทธิของ ปัจเจกชน เพื่อนำที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนดังกล่าวมาจัดทำบริการสาธารณะ ทั้งนี้ บทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้การเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นต้องนำไปเพื่อใช้ ประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เท่านั้น จะนำมาใช้ประโยชน์ประการอื่นไม่ได้ เพราะฉะนั้น หากหน่วยงานรัฐใด ๆ ได้ใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนแล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ของ การเวนคืน แม้ในภายหลังหมดความจำเป็นก็ไม้สามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์อื่นใดได้จึงเป็นการขัด ต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เนื่องจากควรให้สิทธิแก่เจ้าของเดิมหรือทายาทในการขอคืนที่ดินหรือ อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้เพื่อให้ที่ดินทุกตารางเมตรของประเทศได้ใช้และก่อประโยชน์สูงสุด อีกทั้ง เงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่ได้ชำระให้เจ้าของเดิมหรือทายาทในที่ดินดังกล่าวก็จะกลับคืนสู่รัฐ เพื่อให้ ภาครัฐสามารถนำเงินค่าทดแทนที่ได้รับคืนไปใช้ประโยชน์และจัดทำบริการสาธารณะอื่นซึ่งเป็นปัจจัย สำคัญ ในการบริหารประเทศต่อไป ผู้วิจัยเห็นว่าระยะสิบปีซึ่งเป็นระยะเวลาอย่างยาวในประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมที่นำมาปรับใช้กับประเทศไทย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3