2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
3 หรืออสังหาริมทรัพย์ให้กับเจ้าของที่ดินหรือทายาทตามมาตรา 53 บัญญัติว่า “ที่ดินที่ได้มาตาม พระราชบัญญัตินี้หากไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ แห่งการเวนคืนภายในระยะเวลาตาม มาตรา 51 หรือเหลือจากการใช้ประโยชน์ ให้เจ้าของเดิมหรือทายาท มีสิทธิขอคืนที่ดินนั้น และใน กรณีที่เจ้าของเดิมหรือทายาทมีที่ดินที่มีการซื้อขายตามมาตรา 34 รวมเป็นแปลงเดียวกันกับที่ดินที่ขอ คืน และเจ้าหน้าที่ยังมิได้นำที่ดินนั้นไปใช้ประโยชน์ ให้มีสิทธิขอคืนที่ดินดังกล่าวได้ด้วย การขอคืนตาม วรรคหนึ่ง เจ้าของเดิมหรือทายาทต้องยื่นคำร้องขอคืนต่อเจ้าหน้าที่ภายในสามปี นับแต่วันพ้น กำหนดเวลาตามมาตรา 51 ตามแบบและวิธีการกำหนดในกฎกระทรวง...” เพื่อนำมาบังคับใช้กับการ เวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ให้กับเจ้าของที่ดินหรือทายาทที่ถูกเวนคืน ตามสิทธิที่ได้รับรองไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กรมชลประทานเป็นหน่วยงานภาครัฐมีหน้าที่จัดได้มาซึ่งน้ำเพื่อกักเก็บรักษา ควบคุม ส่ง ระบาย หรือ แบ่งน้ำเพื่อการเกษตร การพลังงาน การสาธารณูปโภค หรืออุตสาหกรรม และหมาย รวมถึงการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำกับการคมนาคมทางน้ำซึ่งอยู่ในเขตชลประทานด้วย (กรมชลประทาน 2566) การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยการเวนคืนของกรมชลประทานอันเป็น หน่วยงานภาครัฐ ต้องดำเนินการให้เป็นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่ง อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 แรกเริ่มต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเพื่อกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ก่อน ตามมาตรา 7 บัญญัติว่า “เมื่อรัฐมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งที่ดินเพื่อการอันจำเป็นในกิจการ สาธารณูปโภค การป้องกันประเทศ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ อย่างอื่น หรือเพื่อนำไปชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่นให้เวนคืนตามหมวดนี้” และมาตรา 8 “เมื่อมีความ จำเป็นต้องเวนคืนที่ดินตามมาตรา 7 และจำเป็นต้องสำรวจเพื่อให้ทราบถึงที่ดินที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด ให้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน โดยในต้องกำหนดรายละเอียดที่สำคัญ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์แห่งการเวนคืน 2) ระยะเวลาการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา 3) แนวเขตที่ดินที่จะ เวนคืนเท่าที่จำเป็น 4) ระยะเวลาการเริ่มต้นเข้าสำรวจ 5) เจ้าหน้าที่เวนคืน 6) แผนที่หรือแผนผัง แสดงแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน” และให้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อพระราช กฤษฎีกามีผลบังคับใช้จะกำหนดระยะเวลาการบังคับใช้ไว้เพียงห้าปี ตามกำหนดไว้มาตรา 9 บัญญัติ ว่า “ระยะเวลาการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 8 (2) ให้กำหนดเท่าที่จำเป็นเพื่อการสำรวจ ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ และการรังวัดที่ดิน แต่จะกำหนดเกินห้าปีมิได้” นอกจากนี้ให้เจ้าหน้าที่ เผยแพร่พระราชกฤษฎีกาให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป โดยเฉพาะสำนักงานที่ดินจังหวัด และสำนักงานที่ดินอำเภอในท้องที่ ที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ตามมาตรา 11
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3