2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

4 การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยการเวนคืนที่ดินของรัฐในปัจจุบัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วย การเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 มีวิธีการได้มาด้วยกัน 2 แนวทาง แนวทางแรก เป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยวิธีการซื้อขาย ด้วยการจัดซื้อโดยวิธีการ เจรจาปรองดอง เนื่องจากการจัดซื้อเป็นวิธีการที่นิ่มนวลที่สุด ผู้ซื้อ (ทางราชการ) กับผู้ขาย (เจ้าของ ที่ดิน) มีสิ่งแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน โดยเจ้าของที่ดินได้รับเงินค่าทดแทนทรัพย์สิน พร้อมทั้งได้รับ ประโยชน์โดยตรงจากการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค และด้านการเกษตร จึงตกลงยินยอมขาย ที่ดินให้ แนวทางนี้เป็นการได้มา ซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยวิธีการซื้อขายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการ เวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 25 บัญญัติไว้ว่า ในระหว่างการใช้ บังคับพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 8 เมื่อคณะกรรมการประกาศกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ เบื้องต้นแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการเจรจาตกลงซื้อขายและกำหนดเงินค่าทดแทนได้ วรรคสอง หากเจ้าของตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำสัญญา ซื้อขายกับเจ้าของโดยเร็ว และให้ถือว่าได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นับแต่วันชำระเงิน ประกอบกับมาตรา 58 ไม่ห้ามหน่วยงานของรัฐที่จะดำเนินการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แนวทางที่สอง หากมีเจ้าของที่ดินบางรายไม่ตกลงซื้อขายที่ดินด้วยวิธีการเจรจาปรองดอง ดังกล่าว รัฐจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการทางกฎหมายด้วยการออกพระราชบัญญัติเวนคืนมาบังคับใช้ เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินตามมาตรา 28 วรรคหนึ่งกำหนดว่า เจ้าของรายใดไม่ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 25 ให้ดำเนินการตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และมาตรา 29 ให้กำหนด ถึงวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืน ระยะเวลาการเข้าใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ เจ้าหน้าที่เวนคืน รายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน แผนที่แสดงแนวเขตที่ดินที่เวนคืน และรายชื่อเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ วิธีการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยการเวนคืนที่ดินของรัฐจากประชาชนทั้ง 2 แนวทาง เป็นการที่หน่วยงานของรัฐเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์สาธารณะ หรือการ จัดทำบริการสาธารณะตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายดังกล่าวเหมือนกัน เพียงแต่วิธีการได้มาอาจมี ความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยวิธีการเวนคืนทั้งสองกรณีดังกล่าว ย่อมอยู่ภายใต้การบังคับใช้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนเหมือนกัน เมื่อรัฐได้เวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ของประชาชน เพื่อนำไปใช้ในโครงของรัฐนั้นแล้ว ต่อมาภายหลังหากหน่วยงานของรัฐไม่ใช้อสังหาริมทรัพย์ตามวัตถุประสงค์ที่เวนคืนนั้น หรือภายใน กำหนดระยะเวลาหรือมีที่ดินเหลือจากการใช้ประโยชน์ หากเจ้าของเดิมหรือทายาทประสงค์จะได้คืน ให้คืนแก่เจ้าของเดิมหรือทายาทตามสิทธิที่ได้รับรองไว้ตามมาตรา 37 วรรคห้า แห่งรัฐธรรมนูญ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3