2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

6 ทายาทที่ยินยอมและสละที่ดินของตนขายให้กับหน่วยงานของรัฐโดยเห็นแก่ประโยชน์สาธารณะ ส่วนร่วม ขณะที่เจ้าของเดิมหรือทายาทที่ถูกบังคับให้ขายโดยตราเป็นพระราชบัญญัติเวนคืนได้รับสิทธิ ในการขอคืนที่ดินดังกล่าว ซึ่งทั้งสองกรณีเป็นผลจากการที่รัฐกำหนดเป็นพระราชกฤษฎีกาเวนคืน เหมือนกัน ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับเจ้าของเดิมหรือทายาทโดยวิธีการซื้อขายผู้ที่ถูกจำกัดสิทธิ ขอคืนที่ดินดังกล่าว นอกจากนี้ ได้มีความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ตามเรื่องเสร็จ ที่ 926/2559 ได้พิจารณบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมีความเห็นว่า ที่ดิน ที่ได้จากการเวนคืนหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ใช้บังคับ ได้กำหนด หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จากการเวนคืนไว้ว่า หากมิได้เข้าใช้ภายใน ระยะเวลาที่กำหนดต้องคืนให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาทกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่หน่วยงานของรัฐเวนคืนมา จึงยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐโดยเด็ดขาด ดังนั้นมาตรา 52 เป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของผู้ถูก เวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ด้วยวิธีการซื้อขาย เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2. ปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาขอคืนกรรมสิทธิในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน การที่รัฐมีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์แห่งกฎหมาย โดยอาศัยอำนาจของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 นั้น เกิดปัญหาจากการตัดสิทธิเจ้าของเดิมหรือทายาทในการขอคืนที่ดินที่ใช้ตามวัตถุประสงค์แห่งการ เวนคืนแล้ว ในบทบัญญัติมาตรา 53 ที่กำหนดถึงหลักเกณฑ์การยื่นคำร้องขอคืนที่ดินที่ถูกเวนคืนของ เจ้าของเดิมหรือทายาทโดย มีเงื่อนไขว่าที่ดินที่ถูกเวนคืนไปนั้นต้องไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ตาม วัตถุประสงค์แห่งการเวนคืน เจ้าของเดิมหรือทายาทสามารถยื่นคำร้องขอคืนต่อเจ้าหน้าที่ภายใน ระยะเวลาสามปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืน แต่หากเป็นกรณีที่ดินที่ได้ใช้ ตามวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนแล้ว ภายหลังหมดความจำเป็นในการใช้ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว หรือเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นคำขอคืน เจ้าของเดิมหรือทายาทจะไม่มีสิทธิขอคืน หากพิจารณาถึงลักษณะของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จากการเวนคืน หน่วยงานที่เวนคืนจะนำไปใช้ในทางอย่างอื่นนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้ เนื่องด้วยหากต้องการนำไปใช้จำเป็นต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง วัตถุประสงค์ตามขั้นตอนเสียก่อน ดังนั้น รัฐหมดความจำเป็นในการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ ก็จะเท่ากับรัฐจะไม่นำที่ดินนั้นไปใช้ในวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เดิมอีกต่อไป บทบัญญัติดังกล่าวถือเป็นการตัดสิทธิในการยื่นคำร้องขอที่ดินคืน จึงเป็นกระบวนการที่ไม่เป็นธรรม ต่อเจ้าของเดิมหรือทายาท เพราะหากที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์แล้ว

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3