2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
7 ย่อมส่งผลให้ประชาชนที่ถูกเวนคืนไม่ว่าจะเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เดิมหรือทายาทของเจ้าของ อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ของตนได้ เมื่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 มาตรา 53 วรรคสอง กำหนดให้เจ้าของเดิมหรือทายาทต้องยื่นคำร้องขอคืนต่อเจ้าหน้าที่ภายในสามปี โดยให้นับเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้าปี ตามมาตรา 51 และสามารถยื่นคำร้องขอคืนได้ในปีที่หกถึงปี ที่แปด แต่เนื่องจากการกำหนดระยะเวลายื่นคำร้องขอคืนต่อเจ้าหน้าที่ภายในระยะเวลาสามปีนั้น เป็นการกำหนดระยะเวลาที่น้อยเกินไปและเป็นการการตัดสิทธิเจ้าของเดิมหรือทายาทในการขอคืน ที่ดินที่ใช้ตามวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืน รวมถึงเจ้าของเดิมหรือทายาทต้องจัดเตรียมเงินค่าทดแทน ที่ได้จากการเวนคืนพร้อมดอกเบี้ยให้แก่หน่วยงานของรัฐนั้นตามมาตรา 54 บัญญัติไว้ว่า “เจ้าของเดิม หรือทายาทซึ่งร้องขอคืนที่ดิน ต้องคืนเงินค่าทดแทนในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินที่เจ้าหน้าที่ได้จ่ายให้แก่ผู้มี สิทธิ รวมทั้งดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ได้รับเงิน…” หากพิจารณาถึงระยะเวลาการขอคืน กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ของเครือรัฐออสเตรเลีย Lands Acquistion Act 1989 กำหนดให้สิทธิ แก่เจ้าของที่ดินเดิมหรือทายาทในการซื้อคืนภายในระยะเวลาเจ็ดปี ส่วนสาธารณรัฐฝรั่งเศสตาม ประมวลกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส มาตรา L.12-6 กำหนดให้ เจ้าของเดิมหรือทายาทร้องขอซื้อคืนได้ภายในสามสิบปีนับแต่วันที่ได้ประกาศเวนคืน ขณะที่สหราช อาณาจักร Act 1981 The Land compensation Act 1961 และ The Land compensation Act 1973 กำหนดว่าหากในภายหลังปรากฏว่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนดังกล่าว ไม่จำเป็นต่อวัตถุประสงค์ของการเวนคืนแล้ว หรือเรียกว่า “ที่ดินส่วนเกิน” ให้สามารถดำเนินการ จำหน่ายจ่ายโอนได้ตามกฎหมายเฉพาะของสหราชอาณาจักร เจ้าของเดิมหรือทายาทสามารถของคืน ได้โดยมิได้กำหนดระยะเวลาจำหน่ายจ่ายโอนคืนแต่อย่างใด ดังนั้น ระยะเวลาการขอคืนของไทยที่ กำหนดไว้เพียงสามปีเป็นเวลาที่ถือว่าน้อยเกินไปหากเปรียบเทียบกับทั้งสามประเทศ จำเป็นต้อง ศึกษากำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมการขอคืนให้กับเจ้าของที่ดินหรือทายาท เพื่อให้สิทธิในการเรียก คืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนเกิดความเป็นธรรม และสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ผู้วิจัยสนใจศึกษาการคุ้มครองสิทธิและการคืนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้ถูกเวนคืน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ศึกษาเฉพาะกรณี การจัดหาที่ดินเพื่อการชลประทาน เกี่ยวกับปัญหาสิทธิของผู้ถูกเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ด้วย วิธีการซื้อขายและปัญหาระยะเวลาขอคืนกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน เพื่อให้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3