2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
9 1.4 สมมติฐานของการวิจัย ปัญหาของกระบวนการจัดหาที่ดินเพื่อการชลประทานที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ระเบียบ กฎหมาย ที่ปรากฎในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้อยู่ทุกวันนี้อาจเป็นการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของปัจเจกชน เนื่องด้วยรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยในอดีตหลายฉบับได้รับรองสิทธิในทรัพย์สินของประชาชนเมื่อรัฐได้เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ไปแล้ว ถ้ามิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ในการเวนคืนหรือไม่ได้ใช้ภายใน ระยะเวลาที่กำหนดไว้ ต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาทผู้ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการ เวนคืนรวมถึงให้สิทธิเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้ที่ตกลงทำสัญญาซื้อขาย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วย การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ด้วย เพื่อให้เจ้าของเดิมหรือทายาทสามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือ อสังหาริมทรัพย์ที่มิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาเวนคืนให้ เกิดประโยชน์สูงสุด การปล่อยทิ้งร้างไว้ทำให้เกิดความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและ กระบวนการเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนของเอกชนก็มีกลไกขั้นตอนที่ก่อให้เกิด ความยุ่งยาก และจำเป็นต้องใช้เวลารวมทั้งทุนทรัพย์เพื่อเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน จึงมีความจำเป็นต้อง ศึกษาสิทธิขอคืนที่ดินที่ถูกเวนคืนเจ้าของหรือทายาทตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและ การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ให้สอดคล้องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 1.5 ขอบเขตของการวิจัย ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตการศึกษาไว้ 3 ด้าน ดังนี้ 1.5.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับ กระบวนการจัดหาที่ดินเพื่อ การชลประทาน ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 , ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 , รวมถึงกฎกระทรวง ระเบียบ หนังสือสั่งการ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำวิจัย 1.5.2 ขอบเขตด้านพื้นที่ ให้พื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การเก็บข้อมูลจากราษฎรผู้ซึ่ง ได้รับผลกระทบจากกระบวนการจัดหาที่ดินเพื่อการชลประทานในกรณีการจ่ายค่าทดแทนทรัพย์สิน เพื่อการชลประทาน 1.5.3 ขอบเขตของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ กลุ่มราษฎรที่ได้รับผลกระทบ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3