2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
13 ไปแทรกแซงเพื่อให้สิ่งที่คู่สัญญาได้กำหนดตกลงทำขึ้นไว้โดยหลักเสรีภาพให้เปลี่ยนแปลงไปเป็น ประการอื่นได้ เนื่องจากหากปล่อยให้ดำเนินการดังกล่าวได้ เสรีภาพของปัจเจกชนจะถูกทำลายไป 2.1.2 ความสัมพันธ์ระหว่างหลักเสรีภาพในการทำสัญญาและหลักอิสระในทางแพ่ง หลักอิสระในทางแพ่ง (Private Autonomy) หมายความถึงอิสระของบุคคลที่จะจัดการชีวิต ของตนทั้งในเรื่องส่วนตัว เช่น การจดทะเบียนสมรส การรับบุตรบุญธรรม การให้การรับรองบุตร และ เรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น การทำพินัยกรรม การทำสัญญาซื้อขาย การแลกเปลี่ยน และการให้ ทั้งนี้ โดยอาศัยอำนาจในการทำสัญญานิติกรรมสัญญาฝ่ายเดียว หรือสัญญาเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ ดังกล่าว สำหรับหลักเสรีภาพในการทำสัญญา (Freedom Of Contract) อยู่บนพื้นฐานของหลัก อิสระในทางแพ่ง โดยหลักอิสระในทางแพ่งจะกว้างกว่าหลักเสรีภาพในการทำสัญญา เพราะฉะนั้นการ พิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างนิติกรรมที่อยู่บนหลักอิสระในทางแพ่งและสัญญาที่อยู่บนหลัก เสรีภาพในการทำสัญญาจึงเป็นการพิจารณาความสัมพันธ์ของหลักทั้งสองของหลักเสรีภาพในการทำ สัญญา (ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, 2564) ทั้งนี้ หลักเสรีภาพในการทำสัญญานั้นเป็นเรื่องของความมีอิสระของปัจเจกชนในการบริหาร จัดการภายใต้ขอบเขตทางกฎหมายของตน โดยไม่สามารถบริหารจัดการได้โดยฝ่ายเดียว และต้องเป็น การใช้เสรีภาพระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยต่างฝ่ายต่างต้องการจัดการขอบเขตในทางกฎหมายใน ส่วนที่เกี่ยวข้องของตน ซึ่งการจัดการขอบเขตในทางกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับตนที่มีผู้อื่นเข้า มาร่วมด้วยในลักษณะของการทำข้อสัญญานั้น ควรที่จะเกิดได้ก็เฉพาะแต่ในเรื่องของทรัพย์สินเท่านั้น เพราะฉะนั้น หลักเสรีภาพในการทำสัญญาและหลักอิสระในทางแพ่งจึงมีความแตกต่างกันสอง ประเด็น กล่าวคือ ประเด็นบุคคลในหลักเสรีภาพในการทำสัญญาต้องประกอบไปด้วยบุคคลตั้งแต่สอง ฝ่ายขึ้นไป แต่ในทางกลับกันประเด็นบุคคลของหลักอิสระในทางแพ่งอาจประกอบไปด้วยบุคคล ฝ่ายเดียว สองฝ่าย หรือหลายฝ่ายก็ได้ และประเด็นทรัพย์สิน ในหลักเสรีภาพในการทำสัญญานั้นต้อง เกิดจากการจัดการที่มีความเกี่ยวข้องกับคู่สัญญาเท่านั้น แต่ทว่าในหลักอิสระทางแพ่ง สามารถใช้ จัดการในเรื่องส่วนตัวได้ด้วย (สมยศ เชื้อไทย, 2566) 2.1.3 หลักที่ควรคำนึงในการก่อสัญญา เจตนาของบุคคลมีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดสัญญา โดยมีความสำคัญทั้งใน ทางข้อเท็จจริง กล่าวคือ เจตนาของบุคคลเป็นตัวกำหนดความต้องการของบุคคลในการตกลง ทำสัญญา และเป็นตัวกำหนดเนื้อหาของสัญญา การตีความสัญญา รวมถึงมีความสำคัญในทาง ข้อความคิด (Concept) เนื่องจากรากฐานของการให้ความสำคัญของเจตนาของบุคคล คือ หลักความ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3