2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
14 ศักดิ์สิทธิ์ของเจตนา และหลักเสรีภาพในการทำสัญญา ดังนั้น การแสดงเจตนาในการก่อสัญญาจำเป็น ที่จะต้องคำนึงถึงหลักที่มีความสำคัญ (ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, 2564) อธิบายหลักที่ควรคำนึงถึงใน การก่อสัญญา 5 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. หลักเสรีภาพในการทำสัญญา คือ หลักการสำคัญอันเป็นพื้นฐานในขั้นตอนการ ทำสัญญาที่มีการปรับใช้กันมาเป็นระยะเวลานานและเป็นที่เข้าใจกันมาตลอดว่าการตกลงทำสัญญา นั้น ผู้เข้าทำสัญญาจะทำข้อสัญญากับใครและมีข้อตกลงกันอย่างไรก็ย่อมได้ เพียงแต่ต้องอยู่ภายใต้ หลักกฎหมายที่ได้กำหนดไว้ 2. หลักสุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยในมาตรา 5 ซึ่งเป็นบทบัญญัติสำคัญขั้นพื้นฐานที่วางหลักการในการใช้สิทธิและการชำระหนี้ว่าบุคคลต้องกระทำ โดยสุจริต โดยส่วนใหญ่จะเข้าใจว่ามาตราดังกล่าวจะถูกนำมาปรับใช้ก็ต่อเมื่อเกิดขึ้นเมื่อมีหนี้แล้ว สัญญาจึงเกิดขึ้นแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้นหลักการดังกล่าวสามารถนำมาปรับใช้ในขั้นตอนก่อน สัญญาหรือขั้นตอนของการก่อให้เกิดข้อสัญญาด้วย เนื่องจากแม้ว่าสัญญาดังกล่าวยังไม่เกิดและ หนี้ตามสัญญายังไม่มี แต่การที่คู่สัญญามีหนี้ต่อกันแล้วก็จำเป็นต้องปฏิบัติตนตามหลักสุจริต เช่นเดียวกับความเห็นของ Jhering นักกฎหมายสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ดังนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็น หนี้งดเว้นกระทำการ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การงดเว้นที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ในขั้นตอนก่อนสัญญาจะเกิดขึ้น 3. หลักความไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นหลักสำคัญอีกหลักหนึ่งซึ่งเป็นพื้นฐานของเรื่องการ แสดงเจตนาเข้าทำสัญญา เนื่องจากปกติผู้แสดงเจตนาจะคำนึงถึงแต่เสรีภาพของแต่ละบุคคลและ มักจะทำการตามใจตนเองเท่านั้น แต่หลักความไว้เนื้อเชื่อใจจำเป็นต้องคำนึงถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งด้วย อยู่เสมอว่า คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะเข้าใจอย่างไร เพราะความไว้เนื้อเชื่อใจก็เป็นหลักที่กฎหมายให้ความ คุ้มครองไว้เช่นกัน ทั้งนี้การคุ้มครองไว้เนื้อเชื่อใจของคู่กรณีย่อมหมายถึงการคุ้มครองบุคคลอื่นด้วย เนื่องจากในสังคมที่อาจมีการเข้าทำสัญญาระหว่างบุคคลและรวมไปถึงการคุ้มครองความมั่นใจในด้าน ธุรกิจด้วย 4. หลักความยุติธรรม นอกจากจะเป็นหลักที่ศาลใช้ในการตัดสินคดีแล้ว หลักการ ดังกล่าวสามารถนำมาปรับใช้กันระหว่างคู่สัญญา เพราะหากคู่สัญญามีความประสงค์ให้สัญญาที่ตน ก่อขึ้นนั้นเป็นสัญญาที่สามารถผูกพันและบังคับกันได้ตามความมุ่งหมายทั้งหมดแล้ว โดยในการก่อ สัญญาคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะต้องคำนึงถึงความยุติที่มีต่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งด้วย เพราะหากคู่สัญญา ฝ่ายหนึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจสูงกว่าอีกฝ่ายหนึ่งอาจจะมีการกำหนดข้อสัญญาเอาเปรียบอีกฝ่ายหนึ่ง ได้ เพราะหากว่าฝ่ายซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจด้อยกว่าจำยอมเข้าทำสัญญา นอกจากสัญญาดังกล่าวจะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3