2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
15 เป็นสัญญาที่ไม่อยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมแล้วนั้น สัญญาดังกล่าวยังไม่อยู่บนพื้นฐานของความ ยุติธรรมและยังขัดต่อหลักการของสัญญาทั้งสองฝ่ายที่นอกจากจะต้องมีเสรีภาพในการทำสัญญาแล้ว จะต้องมีความเท่าเทียมกันด้วย ถ้าการทำสัญญานั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำต้องยอมเข้าทำสัญญา คู่กรณี คนดังกล่าวการจะขาดเสรีภาพในการทำสัญญา หรือหากการทำสัญญาดังกล่าวมีการกำหนดถึงเนื้อหา ของสัญญาหรือการปฏิบัติชำระหนี้ของฝ่ายหนึ่ง เนื้อหาของสัญญานั้นจะต้องได้สัดส่วนกับการ ปฏิบัติการชำระหนี้ตอบแทนของคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งที่เข้าทำสัญญาด้วย 5. หลักความรับผิดก่อนสัญญา เป็นหลักการพื้นฐานที่มีความสำคัญในการคำนึงถึง ถึงขั้นตอนของการก่อให้เกิดสัญญาเพื่อให้ผู้เข้าทำสัญญาระลึกด้วยว่าหากในขั้นตอนนี้ผู้เข้าทำสัญญา จงใจหรือเป็นการประมาทเลินเล่อทำให้คู่กรณีอีกฝ่ายจะเข้าร่วมทำสัญญาได้รับความเสียหายนั้นแล้ว ผู้เข้าทำสัญญาอีกฝ่ายนั้นอาจจะมีความรับผิดได้ และเป็นการเยียวยาความเสียหายในประโยชน์ต่อ การรับผิดที่คู่กรณีอีกฝ่ายไม่ควรเสียเวลาและเสียโอกาสดังกล่าว หรือเป็นการเสียค่าใช้จ่ายในการ เข้ามาทำสัญญาโดยผลที่สุดแล้วสัญญาดังกล่าวมิได้เกิดขึ้น หรือเกิดแล้วแต่ไม่มีผลหรือผลดังกล่าว ไม่สมบูรณ์แล้วแต่กรณี 2.2 แนวคิดเกี่ยวกับหลักนิติธรรมกับการบริการสาธารณะ สถานการณ์ปัจจุบันของสังคมไทย เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ขณะนี้เป็นยุคของกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ ทำให้เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีการ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามอิทธิพลของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น การที่มนุษย์ มาอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มสังคมจะทำให้เกิดภารกิจบางประการที่ไม่ใช้ภารกิจของคนใดคนหนึ่ง จึงต้องมี การจัดให้มีโครงสร้างทางสังคมขึ้นมาดำเนินการ เช่น ระบบการเมืองและระบบบริหารรัฐกิจ เพื่อทำ หน้าที่ผลิตจัดหาการบริการแก่สาธารณชน ซึ่งเรียกว่า “การบริการสาธารณะ” ซึ่งมีความจำเป็นอย่าง ยิ่งที่ต้องดำเนินการที่มีความเหมาะสม เกิดประสิทธิภาพ และอยู่บนความเป็นธรรม โดยหลัก ธรรมาภิบาล จึงเข้ามาเป็นหลักสำคัญที่เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเกิดความเป็นธรรม (สมชัย นันทาภิรัตน์, 2565) 2.2.1 หลักนิติธรรม (Rule of Law) เป็นสาระสำคัญของการจัดทำบริการสาธารณะของทางฝ่ายปกครองหรือรัฐที่จำเป็นต้องมี การบริหารจัดการให้มีความสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลหรือการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) เป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของความเสมอภาคเท่าเทียม ความต่อเนื่อง ที่เป็นสากลและมีความทันสมัยตามกาลเวลาโดยผ่านกระบวนการจัดทำและตรากฎหมายให้ถูกต้อง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3