2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

16 และเกิดความเป็นธรรมและก่อประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวม เพื่อให้กฎหมายข้อบังคับได้รับการ ยอมรับและความยินยอมจากสังคมในการปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ซึ่งจะนำมา ซึ่งการลดความเหลื่อมล้ำของเศรษฐกิจและสังคม ความสามารถในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การทำงาน การมีรายได้ และช่วยให้ผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะและทรัพยากรของ ชาติได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ประชากรของประเทศก็จะสามารถพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ ไม่เป็นภาระของรัฐและสังคม เมื่อทุกคนสามารถเข้าถึงการบริการสาธารณะซึ่งเป็นความต้องการ พื้นฐานของมนุษย์ (ประยูร กาญจนดุล, 2533) หลักนิติธรรมความหมายในเชิงกระบวนการ จะมุ่งเน้นถึงกระบวนการตรากฎหมายและการ บังคับใช้กฎหมาย โดยหากกฎหมายที่ตราขึ้นนั้นเป็นการฝ่าฝืนในขั้นตอนการบังคับใช้ที่ได้กำหนดไว้ หรือมีปัญหาการบังคับใช้ข้ออกฎหมาย โดยหลักนิติธรรมในเชิงกระบวนการมีข้อสังเกตถึงการไม่ให้ ความสำคัญในเนื้อหาทางกฎหมายว่าถูกต้องและมีความชอบธรรมหรือไม่อย่างไร เนื่องด้วยมีกฎหมาย บางตัวที่บ่งบอกถึงการเลือกปฏิบัติ เช่น กฎหมายเลือกปฏิบัติต่อบุคคลกลุ่มบุลคลที่มีความ หลากหลายทางเพศ (LGBTQ) กฎหมายกีดกันคนผิวสี แต่ถ้ากฎหมายนั้นได้มีการตามขึ้นด้วย ความชอบธรรมและถูกต้องในกระบวนการออกกฎหมาย ก็ถือว่าการบังคับใช้นั้นถูกต้องตามหลักนิติ ธรรม ซึ่งหลักนิติธรรมความหมายเชิงเนื้อหา เนื่องด้วยสำนักกฎหมายธรรมชาติ ( Natural Law Theorists) เกิดคับข้องใจถึงหลักนิติธรรมในเชิงกระบวนการความหมายในเชิงกระบวนการที่ ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมเนื่องด้วยคุณธรรมของข้องบังคับตัวบทกฎหมายนั้นพึ่งพาผู้ตรากฎหมาย มากเกินไป แต่ประชาชนก็จะไม่ได้รับความเดือดร้อนหากผู้ตรากฎหมายได้คำนึงถึงเนื้อหาของตัวบท ของข้อกฎหมายเป็นอย่างดี โดยมุ่งเน้นถึงเสรีภาพในการกระทำใด ๆ ของตัวบุคคลที่กฎหมายไม่ห้าม และปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้นซึ่งเป็นเครื่องจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ โดยการ ตรากฎหมายนั้นต้องคำนึงถึงเจตจำนงร่วมกันของประชาชน ต้องไม่เป็นกฎหมายที่จำกัดถึงเสรีภาพ ของบุคคลเพื่อให้เกิดความสงบสุขของสังคมส่วนรวม และเป็นการกำจัดสิทธิเสรีภาพของฝ่ายปกครอง ในการนำข้อกฎหมายไปบังคับใช้ให้ถูกต้องละไม่เป็นการใช้อำนาจดังกล่าวเป็นไปตามอำเภอใจ (บวรศักดิ์ อวรรณโณ, 2538) หลักนิติธรรมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย “การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติ ธรรม” ซึ่งปรากฏอยู่ในมาตรา 3 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญฯ เมื่อได้พิจารณาจะเห็นได้ว่ากฎหมายจะ ใช้บังคับได้นั้นต้องตราขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นหลักนิติธรรมตามมาตรา 3 วรรคสอง จึงเป็น หลักนิติธรรมที่มุ่งเน้นในเชิงกระบวนการอย่างชัดเจน โดยการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3