2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

18 ดังนั้น รัฐหรือฝ่ายปกครองมีหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะให้ได้มาซึ่งกิจการที่อยู่ในความ อำนวยหรือการกำกับดูแลของทางฝ่ายปกครองเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นการ ส่วนรวม โดยต้องดำเนินการให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสม เพื่อตอบสนองความ ต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคนให้มีคุณภาพดี และสามารถพึ่งพาตนเองได้ไม่ว่าจะด้านการ ทำงาน การมีรายได้ สุขภาพอนามัย การศึกษา การบริการทางสังคม รวมถึงการเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมอย่างทั่วถึง ผ่านกระบวนการที่ถูกต้องและชอบธรรม เพื่อลดความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นใน สังคม และทำให้ประชาชนสามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง และบุคลากรรุ่นใหม่ของประเทศชาติ ที่มีคุณภาพต่อไป โดยการจัดทำบริการสาธารณะจำเป็นต้องดำเนินการตามหลักนิติธรรม ดังนั้น หลักเกณฑ์ในการจัดทำบริการสาธารณะที่สำคัญเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพิจารณาสถานภาพของ การบริการสาธารณะ (ชาญวิสุทธิ์ ต้นมณี, พร้อมพล สัมพันธโน, 2564) ประกอบด้วยหลักสำคัญ 3 ประการ คือ 1) หลักว่าด้วยความเสมอภาค เป็นหลักในการจัดทำบริการสาธารณะที่สำคัญประการแรก เนื่องจากการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐนั้น เป็นการจัดทำบริการสาธารณะซึ่งมิได้มุ่งหมายเพื่อผู้ หนึ่งผู้ใดเป็นการเฉพาะ แต่เป็นหลักในการจัดทำบริการสาธารณะที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของ ประชาชนในภาพรวม เพราะหากกิจการใดที่รัฐได้จัดทำเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดโดยเฉพาะ กิจการ ดังกล่าวจะไม่ถือเป็นการจัดทำบริการสาธารณะ เนื่องด้วยหากเป็นการจัดทำบริการสาธารณะ ประชาชนทุกคนต้องสามารถเข้าถึงและสามารถเข้ารับการบริการดังกล่าวโดยเท่าเทียมกัน 2) หลักว่าด้วยความต่อเนื่อง เป็นหลักที่แสดงถึงความต่อเนื่องในการบริการสาธารณะโดย ต้องไม่มีการหยุดการทำงานหรือการบริการสาธารณะไม่ว่าด้วยเหตุผลประการใดก็ตาม เนื่องด้วยเป็น กิจการที่เป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนทุกคนในการเข้ารับบริการ และถ้าหากการ บริการสาธารณะดังกล่าวขากความต่อเนื่อง ความเดือดร้อนก็จะตกแก่ประชาชนผู้เข้ารับการบริการ เช่น การไฟฟ้าไม่จ่ายไฟฟ้าให้แก่ประชาชนในพื้นที่เพื่อใช้ในการอุปโภค – บริโภค เนื่องจากเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานนัดกันหยุดงานเพื่อเรียกร้องเงินเดือนค่าตอบแทน ก็อาจจะทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับ ความเดือดร้อนดังกล่าว นอกจากนั้นหลักว่าด้วยความต่อเนื่องยังมีผลกระทบต่อสัญญาทางปกครอง กล่าวได้ว่า เมื่อฝ่ายเอกชนซึ่งเป็นคู่สัญญาได้รับมอบหมายจากฝ่ายปกครองให้จัดทำบริการสาธารณะ แต่มีเหตุผลบางประการจึงไม่สามารถจัดทำบริการสาธารณะได้ตามปกติ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ฝ่ายปกครองสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาได้ โดยฝ่ายปกครองสามารถเข้า ดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะได้เองเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการให้บริการ หรือการที่ฝ่าย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3