2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

21 6. หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เป็นประโยชน์ สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัดใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและ บริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน ดังนั้น การจัดทำบริการสาธารณะของทางภาครัฐหรือฝ่ายปกครองต้องยึดหลักนิติธรรมเป็น หลักสำคัญ ต้องตอบปัญหาสภาพสังคมในปัจจุบันให้ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เนื้อหาหรือหลักเกณฑ์ ของการจัดทำบริการสาธารณะต้องมีความเป็นถูกต้องและชอบธรรมตอบสนองต่อความต้องการของ ประชาชนในภาพรวม และต้องผ่านขั้นตอนกระบวนการจัดทำ หรือมีการร่างและการตรากฎหมายที่ ถูกต้องและเป็นธรรม เพื่อให้ประชาชนให้การยินยอมพร้อมใจที่จะปฏิบัติตามและให้การยอมรับ ทั้งนี้ ฝ่ายปกครองหรือหน่วยงานภาครัฐต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชน โดยการปฏิบัติต่อประชาชน อย่างเท่าเทียมและมีความเสมอภาค ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ เพื่อให้ประเทศชาติเกิดการพัฒนาอย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงคุณภาพของการให้บริการมากกว่าเน้นที่ ปริมาณการให้บริการ และต้องมีกระบวนการศึกษาถึงความต้องการของประชาชนในสภาวะสังคมที่มี การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผ่านการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมอันเป็นการเพิ่มคุณค่าให้แก่บริการ นั้น ๆ เพราะประชาชนมิใช่เพียงผู้รับบริการแต่ประชาชนย่อมมีส่วนร่วมในการให้บริการนั้นด้วย เพื่อให้การจัดบริการสาธารณะเกิดประโยชน์สูงสุดและมีความถูกต้องชอบธรรมตรงกับตามความ ต้องการของประชาชน 2.2.3 การใช้อำนาจทางปกครองเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ การบริการสาธารณะ (ประยูร กาญจนดุล, 2533) ให้ความหมายว่าเป็นกิจการที่อยู่ใน ความอำนวยการหรืออยู่ในการควบคุมของฝ่ายปกครอง ที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการ ตอบสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน และบริการสาธารณะเป็นองค์กรที่มีขึ้นมาเพื่อ ตอบสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน หรือเป็นก่อจัดตั้งขึ้นเพื่อทำให้เกิดความสะดวกสบาย ในการอยู่ร่วมกันในสังคม เช่น องค์การขนส่งสาธารณะโดยองค์การดังกล่าวมุ่งเน้นภาระของฝ่าย ปกครองที่จะต้องดำเนินการจัดทำในฐานะรัฐสวัสดิการ และมีรูปแบบในการจัดทำที่มีความแตกต่าง ไปขึ้นอยู่กับองค์กรฝ่ายปกครองที่กำกับดูแล (สิริพร มณีภัณฑ์, 2538) ทั้งนี้ เมื่อฝ่ายปกครองได้ก่อตั้ง หรือจัดทำบริการสาธารณะ จะต้องมีขั้นตอนกระบวนการหรือการกำกับดูแลให้ได้ผลดีตาม วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งบริการสาธารณะนั้น เพราะฉะนั้นฝ่ายปกครองจึงมีกฎหมายเพื่อใช้เพื่อเป็น “เครื่องมือ” ที่ใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะ (นันทวัฒน์ บรมานันท์, 2560)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3