2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
29 มุ่งเน้นและครอบคลุมไปถึงกระบวนการเกี่ยวกับปรากฎการณ์หรือสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นภายใน กระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ และเป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานหรือเป็นขั้นตอนการ พิจารณาการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยการนำผลจากของการปฏิบัติมาพิจารณาว่ามีความเหมาะสม และเกิดผลสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการนำนโยบายไปปฏิบัติหรือไม่ ตลอดจนผลของการ ประเมินถึงระดับความร่วมมือและระดับความขัดแย้ง โดยมีปฏิสัมพันธ์ ที่มีลักษณะของความไม่ลง รอยกันหรือความไม่สอดคล้องกัน ซึ่งเกิดจากการนำนโยบายไปปฏิบัติที่สามารถประเมินได้ในขณะที่ นโยบายนั้นยังอยู่ในขั้นตอนและกระบวนการนำไปปฏิบัติ เพื่อให้สามารถหาหนทางการแก้ไขโดยการ ร่วมมือกันแบบบูรณาการณ์รหว่างหว่างภาครัฐและเอกชน โดยฝ่ายการเมืองเป็นผู้มีบทบาทและมี ความสำคัญมากในการนำนโยบายไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพราะหากได้รับความ เห็นชอบกับการนำนโยบายดังกล่าวไปใช้ปฏิบัติและมีการประเมินติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ในการนำ นโยบายไปปฏิบัติจากฝ่ายการเมืองและฝ่ายปกครอง กล่าวคือ หน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่มีความ เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายดังกล่าวไปใช้ปฏิบัติ ทั้งนี้ทุกขั้นตอนและกระบวนการที่ฝ่ายการเมืองและ ฝ่ายปกครองผ่านหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจะเป็นขั้นตอนการพิจารณาที่จะนำมาซึ่งโอกาสที่จะทำ ให้นโยบายประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น นอกจากหน่วยงานและระบบราชการที่เกี่ยวข้องแล้ว ข้าราชการในฐานะผู้ปฏิบัติมีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดผลที่ประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลวของ การนำนโยบายไปปฏิบัตินั้นด้วย โดยตัวผู้รับบริการหรือผู้ได้รับประโยชน์จากการที่หน่วยงานภาครัฐ นำนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติ จะเป็นผู้ติดต่อมีปฏิสัมพันธ์กับข้าราชการระดับล่างเป็นผู้มีความสำคัญ และส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นอย่างมาก โดยบทบาทขององค์การและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ ประเภทต่าง ๆ ของนโยบาย ผ่านขั้นตอนการนำนโยบายไปปฏิบัติในระดับมหภาคคือการแปลง นโยบายออกมาเป็นแผนงานหรือโครงการแล้วแต่กรณี แล้วทำให้หน่วยงานระดับท้องถิ่นยอมรับใน แนวทางเพื่อนำนโยบายนั้นไปปฏิบัติต่อไป และนำนโยบายไปปฏิบัติในระดับจุลภาคแบ่งย่อยเป็นสาม ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นตอนการแปลงนโยบายออกมาเป็นแนวทางปฏิบัติ แผนงานหรือโครงการ ขั้นตอน ในการทำให้หน่วยงานท้องถิ่นยอมรับแนวทางเพื่อนำไปปฏิบัติ และขั้นตอนการสร้างความเป็นปึกแผ่น เพื่อหาหนทางทำให้นโยบายนั้นได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ปัญหาในการนำนโยบายไปปฏิบัติซึ่ง (สัญญา เคณาภูมิ และบุรฉัตร จันทร์แดง, 2562) กล่าวว่า เกิดจากอำนาจและความสำพันธ์ระหว่างองค์การที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการนำนโยบายไป ปฏิบัติร่วมกับองค์การอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับเงื่อนไข หลายประการประกอบไป ด้วยลักษณะการติดต่อและความสัมพันธ์ ระดับความร่วมมือหรือการทำข้อตกลงกันกับหน่วยงาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3