2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
30 อื่น ๆ และระดับความสามารถของเจ้าหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานที่จะสามารถทำงานร่วมกันได้ ปัญหาจากปัจจัยทางด้านบุคลากร ปัจจัยด้านเงินทุน ปัจจัยทางด้านวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนปัจจัยด้านวิชาการ หรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับนโยบายนั้นซึ่งเป็นปัญหาหลักอย่างหนึ่งใน การนำนโยบายไปปฏิบัติ และปัญหาด้านความสนับสนุนและความผูกพันขององค์การหรือบุคคลที่ สำคัญซึ่งเป็นปัญหาหลักอีกด้านหนึ่ง ได้แก่ กลุ่มอิทธิพล กลุ่มผลประโยชน์ นักการเมือง ข้าราชการ ระดับสูง ตลอดจนสื่อมวลชล ในการไม่ให้ความสนับสนุนทั้งในแง่การเมือง เงินทุนงบประมาณ และ การสร้างอุปสรรคในแง่ของการต่อต้าน คัดค้านนโยบายต่าง ๆ จนก่อปัญหาที่อาจจะส่งผลลุกลามไป ถึงความล้มเหลวของนโยบายนั้นโดยตรงก็ได้ การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ หรือการถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติถือเป็นขั้นตอน หนึ่งของการนำนโยบายไปปฏิบัติเนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญในการผลักดันให้นโยบายสู่การรับรู้ เข้าใจ ยอมรับและสร้างทัศนคติที่ดีต่อผู้ปฏิบัติตามนโยบายและผู้ได้รับผลจากนโยบายอันเป็นเครื่องมือทำให้ เครื่องมือที่ทำให้นโยบายได้รับความสำเร็จที่สุดในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ผู้มอบและรับนโยบาย ต้องมีความชัดเจนในเรื่ององค์ผระกอบของนโยบายโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รับนโยบายต้องมีความเข้าใจ ได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถใน การวัดความก้าวหน้าในผลการปฏิบัติของนโยบายแผนงาน ทั้งนี้ปัญหาในด้านการควบคุมจะมีมาก น้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถในการกำหนดภารกิจ ความชัดเจนของกิจกรรม แผนงาน หรือ โครงการ และความสามารถของหน่วยที่รับผิดชอบในการแปลงนโยบาย ตลอดจนมาตรฐานในการ ปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติงาน เนื่องจากโดยทั่วไปนโยบายอาจจะขาดความชัดเจนใน ตัวอยู่บ้าง กล่าวคือนโยบายส่วนหนึ่งมีลักษณะเชิงอุดมการณ์ (Sabatier & Mazmanian, 1980) เพราะฉะนั้นนโยบายที่ดีต้องมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นคือมีลักษณะเป็นเชิงทางเลือกและ มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนคือมีลักษณะเชิงมาตรการซึ่งเป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้ผู้กำหนดนโยบาย หรือผู้มอบนโยบายตระหนักถึงความชัดเจนที่ตนกำหนดขึ้น เกิดความเข้าใจและง่ายต่อการรับนำไป ตีความและจัดทำเป็นนโยบายรอง ผู้รับนโยบายสามารถแยกแยะส่วนสำคัญของนโยบายและแปล ความหายได้ถูกต้องชัดเจนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายให้เป็นแผนปฏิบัติที่ดีจะต้อง มีวัตถุประสงค์แนวทางดำเนินการและกลไกสอดคล้องสัมพันธ์กัน 2.4 แนวคิดเกี่ยวกับการไต่สวนสาธารณะ การไต่สวนสาธารณะ หรือกลไกใหม่ที่ยกระดับการต่อต้านการทุจริตสู่สากล ได้นำมาปรับใช้กับ ประเทศไทยหลังจากที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3