2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

31 ต่อต้านการทุจริต พ.ศ. 2546 (United Nations Convention against Corruption 2003 : UNCAC) เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในกฎหมายระหว่างประเทศฉบับแรกในการต่อสู้และต่อต้านการ กระทำอันเป็นการทุจริต (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, 2565) โดยประเทศไทยได้ผลักดันให้มีการพัฒนากฎหมายการต่อต้านการทุจริตหลายเรื่องเพื่อให้สอดคล้อง กับกฎกติกาที่บังคับใช้ให้เป็นสากล ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่ภาครัฐสามารถเพิ่ม ประสิทธิภาพและปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมไทย สำนักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ให้ความสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันพบการทุจริต เชิงนโยบายของการบริหารงานภาครัฐของฝ่ายบริหารหรือนักการเมือง การไต่สวน (public inquiry) ตามหลักคอมมอนลอว์ที่จำเป็นต้องฟังความคิดเห็น ทุกฝ่ายและดำเนินการอย่างเปิดเผย ซึ่งเป็นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ในเรื่องต่าง ๆ มักจะต้องกระทำโดยบุคคลหรือองค์กรที่มีความเป็นอิสระและมีหน้าที่รับฟังความ คิดเห็นดังกล่าว เนื่องจากเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะนำไปสู่การตัดสินใจทางปกครอง ดังนั้นการ ไต่สวนสาธารณะจึงเป็นการคุ้มครองประชาชนก่อนกระทำทางปกครอง วิธีการไต่สวนสาธารณะ กรณีการแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อตัดสินข้อขัดแย้งระหว่างเอกชน หรือระหว่างเอกชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือการตัดสินใจของฝ่ายปกครองในสาธารณรัฐ ฝรั่งเศส ได้นำระบบการไต่สวนสาธารณะมาใช้บางกรณี เช่น การตรากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง สิ่งแวดล้อม ค.ศ. 1983 มีผลใช้บังคับกับทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนซึ่งต้องจัดให้มีการไต่ สวนสาธารณะก่อนที่จะได้รับอนุญาตในการดำเนินกิจการเกี่ยวกับกิจการที่อาจส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม (บวรศักดิ์ อวรรณโณ, 2538) ประเภทของการไต่สวนสาธารณะพิจารณากระบวนการไต่ สวนสาธารณะจากบทบัญญัติทางกฎหมายซึ่งจำเป็นต้องมีการไต่สวนก่อนการกระทำการใด ๆ กรณี กฎหมายกำหนดไว้เจ้าหน้าที่อาจจะดำเนินการหรือต้องดำเนินการกระบวนการรับฟังทางมหาชน หาก ไม่ได้มีกฎหมายกำหนดไว้เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินกระบวนการไต่สวน การไต่สวนสาธารณะโดยไม่มี บทบัญญัติใด ๆ ของกฎหมาย (สุมาลี อึ้งตระกูลไทย, 2533) กระบวนการและหลักการที่สำคัญในการประกาศการไต่สวนสาธารณะให้ประชาชนทราบ เป็นการทั่วไป โดยรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบเป็นกระบวนการขึ้นแรกของกระบวนการไต่สวนสาธารณะ พร้อมทั้งกำหนดสถานที่ที่จะไต่สวน แนวทางหรือนโยบายที่ต้องการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยทิ้งระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียสามารถโต้แย้งหรือให้ความเห็นได้ และเมื่อถึงวัน กำหนดก็จะมีผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งทนายความหรือที่ปรึกษาทางกฎหมายและประชาชนทั่วไป เข้ารับฟังการไต่สวน โดยมีผู้ไต่สวนเป็นประธานและทำการไต่สวนเหมือนการไต่สวนในชั้นศาล

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3