2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
32 โดยต้องยึดหลักสาธารณะสามประการ คือการไต่สวนอย่างเปิดเผย มีความยุติธรรม และปราศจาก ความลำเอียง และจัดทำรายงานแสดงความเห็นของตนในเรื่องนั้นเมื่อกระบวนการไต่สวนแล้วเสร็จ โดยมีเอกสารรวบรวมประกอบ ทั้งนี้รายงานดังกล่าวไม่มีผลผูกพันกับเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจทำคำสั่ง และรายงานดังกล่าวจำเป็นต้องส่งเพื่อให้ผู้เสียหายนำพยานมาโต้แย้งในการไต่สวนด้วย (เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, 2564) 2.5 แนวคิดการทำประชาพิจารณ์ การทำประชาพิจารณ์ (Public Hearing) หมายถึง การพิจารณาเพื่อให้สาธารณชนได้รับรู้ โดยเปิดเผยของศาลซึ่งนำมาใช้กับการดำเนินงานของฝ่ายปกครองเป็นขั้นแรก (ชาญชัย แสวงศักดิ์, 2539) มีความหมายถึงการนั่งพิจารณาพยานหลักฐานโดยเปิดเผย และมีกระบวนการที่เคร่งครัด โดยศาล แต่โดยที่คำว่า “hearing” คือการได้ยินในความหมายสามัญ ต่อมาคำดังกล่าวได้วิวัฒนาการ ไปรวมถึงกระบวนการนัดประชุมฟังเพื่อรับฟังความเห็นของประชาชน โดย Public Hearing ได้นิยม ใช้กันมากในประเทศสหรัฐอเมริกาต่อมาได้มีการนำคำศัพท์นี้มาใช้ในประเทศไทย เช่น การรับฟังเสียง มหาชน การไต่สวนโดยเปิดเผย การชี้แจงต่อสภา หรือการทำประชาพิจารณ์ เป็นต้น Public Hearing จึงเป็นกระบวนการที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมรูปแบบหนึ่งเพื่อแสดงความ คิดเห็นก่อนการออกกฎ คำสั่งหรือการตัดสินใจของปัญหาสำคัญของทางฝ่ายบริหารซึ่งมีผลกระทบถึง ผลประโยชน์ของประชาชน ป้องกันผลประโยชน์ได้เสียของตนต่อการกระทำที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม (วราภรณ์ ปิยะมงคลวงศ์, 2531) เพื่อให้เกิดความกระจ่างในการทำงานของฝ่ายปกครอง ทั้งนี้ หลักการในระบบกฎหมายปกครองของสหรัฐอเมริกาได้มีกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาทางปกครอง (Administrative Procedure Act ค.ศ. 1946) ในการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนที่ต้องออก กฎ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ วิธีพิจารณามีลักษณะใกล้เคียงกับวิธีพิจารณาของศาลโดยวางหลักสำคัญไว้คือมี การกำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับฟัง ความคิดเห็นก่อนการดำเนินออกกฎและคำสั่งในบาง กรณี (ทวีสิน กีรบุตรสุวรรณ, 2538) โดย ทั้งนี้ “กฎ” ต่าง ๆ อันเป็นข้อความที่มีผลใช้บังคับเป็นการ ทั่วไปใน โดยกฎหมายของสหรัฐอเมริกาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท (ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์, 2537) คือ กฎทางสารบัญญัติ กฎในลักษณะการตีความ กฎในทางวิธีสบัญญัติ โดยมีกระบวนการในการออก กฎสามารถแยกออกเป็น 2 ประการ ดังนี้ 1. การออกกฎโดยไม่มีแบบพิธี มีขั้นตอนคือจะต้องลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อน ทำการออกกฎ หรือการจัดส่งเรื่องที่จะออกกฎโดยบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องในการบังคับใช้ โดยไม่ต้อง ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็ได้ โดยมีองค์ประกอบซึ่งข้อความที่จะส่งไปลงราชกิจจานุเบกษา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3