2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

33 หรือส่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง คือ วัน เวลา สถานที่สำหรับการพิจารณา และกระบวนการพิจารณา กฎหมายพื้นฐานที่ให้อำนาจในการออกกฎดังกล่าว และตัวร่างของกฎหรือสรุปสาระสำคัญของกฎที่ จะเสนอ ทั้งนี้ต้องให้โอกาสในการเสนอข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย หรือข้อโต้แย้งเป็นหนังสือและ การแถลงด้วยวาจาหรือไม่ก็ได้ รวมทั้งการรับฟังข้อเท็จจริงจากผู้ใดและที่ใดก็ได้โดยไม่จำกัดเฉพาะ ผู้ที่มาแสดงความคิดเห็น เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้วเสร็จจะต้องจัดทำรายงานและ ผลการพิจารณาซึ่งต้องกระชับ ชัดเจน เพื่อให้สาธารณชน ได้รับรู้ในข้อมูลพื้นฐานและความมุ่งหมาย ของกฎที่จัดทำที่มีรายละเอียดเพียงพอ 2. การออกกฎโดยมีแบบพิธี หากการออกกฎในเรื่องใดจำเป็นต้องจัดทำตามสำนวนใน การไต่สวน เนื่องด้วยการมีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้ กระบวนการออกกฎย่อมแตกต่างออกไปจาก การออกกฎโดยไม่มีแบบพิธี กล่าวคือจะต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นตามมาหลังจากได้แจ้ง ความในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งมีขั้นตอนและสาระสำคัญคือ ในกรณีหน่วยงานที่ดำเนินการใน รูปแบบคณะกรรมการหรือผู้พิพากษาคดีปกครองให้หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ทำการแทนหรือกรรมการ อย่างน้อยจำนวน 1 คน โดยประธานในการไต่สวนมีอำนาจออกหมายเรียกให้บุคคลมาให้ถ้อยคำหรือ พยานหลักฐาน ส่วนฝ่ายหน่วยที่เสนอให้ออกกฎต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่าง ๆ และ เสนอพยานหลักฐานหักล้างตลอดจนการซักค้านอีกฝ่ายหนึ่งไม่ว่าจะด้วยพยานหลักฐานที่เป็นเอกสาร หรือวาจา เนื่องจากในสำนวนการไต่สวนจะนำบรรดาคำให้การและเอกสารต่าง ๆ ในการวินิจฉัยหา ข้อยุติในการตรากฎหมาย จะรับฟังพยานหลักฐานอื่นนอกจากสำนวนไม่ได้เพื่อทำการไต่สวน ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายและดุลพินิจซึ่งจำเป็นต้องมีการวินิจฉัยในทุกประเด็นที่ปรากฎในสำนวน ดังนั้นการออก “คำสั่ง” สามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท คือการออกคำสั่งโดยไม่มีแบบพิธี ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ในการออกคำสั่งในกรณีนี้ แต่พบว่าอยู่ในข้อบังคับของหลักกฎหมายทั่วไปตาม หลักกระบวนการพิจารณาที่เป็นธรรมตามความเห็นของนักวิชาการ และการออกคำสั่งโดยแบบพิธี ซึ่งมีหลักสำคัญคล้ายกับการออกกฎโดยแบบมีพิธี เนื่องจากการมีกฎหมายกำหนดไว้เฉพาะว่า กำหนดให้มีการพิจารณาออกคำสั่งจากสำนวนที่ได้หลังจากการรับฟังจากมหาชนมาแล้วเท่านั้น ในประเทศไทย แนวคิดการทำประชาพิจารณ์ (Public Hearing) เป็นมาตรการที่จะให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดิน เกิดขึ้นโดยได้จัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 ในยุครัฐบาลที่มี นายบรรหาร ศิลปะอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจ ในการดำเนินงานตามโครงการของรัฐที่มีผลกระทบต่อชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อมหรือมีผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจนำไปสู่การโต้แย้งในหลายฝ่าย เพื่อให้สอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการประชาพิจารณ์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3