2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

34 จึงจำเป็นต้องจัดทำประชาพิจารณ์ตามระเบียบดังกล่าวในร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. .... ตามที่ประธานกรรมการประชาพิจารณ์เสนอแล้วมีคำสั่งมอบให้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และ คณะกรรมการกฤษฎีกาไปร่วมพิจารณาปรับปรุงพระราชบัญญัติป่าชุมชน จนนำสู่การบังคับใช้ พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ในปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังได้รองรับแนวความคิดเรื่อง การทำประชาพิจารณ์ (Public Hearing) ไว้ในมาตรา 58 บัญญัติว่า “การดำเนินการใดของรัฐหรือที่ รัฐจะอนุญาตให้ผู้ใดดำเนินการ ถ้าการนั้นอาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อม อย่างรุนแรง รัฐต้องดำเนินการให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพของประชาชนหรือชุมชน และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชน และชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาดำเนินการหรืออนุญาตตามที่กฎหมาย บัญญัติ” และมาตรา 58 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูลคำชี้แจง และ เหตุผลจากหน่วยงานของรัฐก่อนการดำเนินการหรืออนุญาตตามวรรคหนึ่ง” กล่าวคือการทำประชา พิจารณ์ (Public Hearing) เป็นกระบวนการเพื่อให้ประชาชนผู้ซึ่งได้รับผลกระทบและมีประโยชน์ ส่วนได้เสียให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นก่อนการกระทำของฝ่ายบริหารในปัญหาสำคัญ ๆ แต่ ไม่มีผลผูกพันให้ฝ่ายบริหารต้องดำเนินการ ซึ่งมีความแตกต่างจากการออกเสียงแสดงประชามติที่เป็น กระบวนการที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นชอบต่อกฎหมายก่อนมีผลใช้บังคับแม้จะเป็น กระบวนการที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมเหมือนกัน 2.6 แนวคิดเกี่ยวกับความคาดหวังและความพึงพอใจ ทัศนคติและความพึ่งพอใจในสิ่งหนึ่งสามารถใช้แทนกันได้ เนื่องด้วยสองคำนี้หมายความถึง ผลที่ได้จากการที่บุคคลเข้าไปมีส่วนร่วมในสิ่งนั้น หากเป็นทัศนคติด้านลบจะแสดงให้เห็นสภาพความ ไม่พึงพอใจในสิ่งนั้น ในทางกลับกันหากเป็นทัศนคติด้านบวกจะแสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจในสิ่ง ดังกล่าว ทัศนคติ หมายถึง ความรู้สึกของคนใดคนหนึ่งว่าชอบหรือไม่ชอบในบุคคล สิ่งของหรือ สภาพแวดล้อมที่เขาเข้าไปเกี่ยวข้อง (Dalton, F.E, 1968) นอกจากนี้ความพึงพอใจ (Direk Rekrai, 1972) ยังหมายความถึง ทัศนคติในทางบวกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปเป็น ความ พึงพอใจในการปฏิบัติต่อสิ่ง ทั้งนี้ความพึงพอใจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มนุษย์มีความสุขเมื่อบุคคล ไม่มีความพึงพอใจก็ไม่มีความสุข จึงต้องแสวงหาและก่อให้เกิดความตึงเครียด ความเบื่อหน่ายขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3