2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

39 4. การพิจารณาทางเลือก เนื่องจากทางเลือกในการแก้ไขปัญหามีหลากหลายทางที่สามารถ ช่วยแก้ไขปัญหาได้ จึงมีความจำเป็นในการพิจารณาความเหาะสมในหลายระดับ เพื่อให้ครอบคลุม ในวิธีการเพื่อจะแก้ไขปัญหา ในที่นี้สำหรับกระบวนการจัดหาที่ดินเพื่อการชลประทาน คือ การกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินของทางหน่วยงานราชการ ผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการ ก่อสร้างโครงการชลประทาน เพื่อการพิจารณาว่าจะยินยอมขายที่ดินที่ถูกเขตการก่อสร้างโครงการ ชลประทานหรือไม่ 5. การเลือกทางเลือก เป็นการเลือกทางที่ดีที่สุดเพื่อพิจารณาทางเลือกที่สามารถนำไปปฏิบัติ และต้องบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซึ่งเป็นขั้นตอนการตัดสินใจ ในกระบวนการจัดหา ที่ดิน คือ การตัดสินใจว่าจะยินยอมขายที่ดินหรือไม่ 6. การปฏิบัติตามการตัดสินใจ เป็นการปฏิบัติตามผลของการตัดสินใจเมื่อทางเลือก ถูกเลือกแล้วหรือทางเลือกในที่นี้คืน การทำการขายหรือโอนที่ดินให้แก่ผู้ซื้อ 2.7.2 ประเภทของการตัดสินใจ ประเภทของการตัดสินใจ (กุลชลี ไชยนันตา, 2539) มีความสำคัญอยู่ตรงที่กระบวนการ ตัดสินใจ ทั้งนี้อาจจะผิดเรื่องผิดราวหรือไม่มีความหมายเลยก็ได้ ถ้าหากว่าผู้ทำการตัดสินใจ ตลอดจน ผู้วิเคราะห์เพื่อทำการตัดสินใจไม่สามารถแยกแยะหรือทำความเข้าใจในสถานการณ์ของการตัดสินใจ ได้แล้ว ก็ก่อให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นในแง่ที่ว่าหากสถานการ์การตัดสินใจเป็นอย่างอื่น โดยสามารถ แยกแยะสถานการณ์การตัดสินใจได้เป็น 3 ประการ คือ 1. การตัดสินใจภายใต้สภานการณ์ที่มีความแน่นอน (Certain Situation) คือ เราสามาถ ทำนายได้ว่าสิ่งที่ได้กระทำหรือปฏิบัติจะเกิดผลลัพธ์อย่างไร กล่าวคือเราสามารถบอกได้อย่างแน่นอน ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ปัญหาที่สำคัญที่สุดของสถานการณ์อันนี้มีโอกาสน้อยมากที่จะตกอยู่ในสภาวะ ที่มีความแน่นอน เพราะโลกแห่งความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างแทบจะมีความแน่นอนน้อยเหลือเกิน 2. การตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน (Uncertain Situation) คือ การตัดสินใจโดย ที่ไม่สามารถรับรู้ได้ว่าอะไรเป็นอะไรในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้ทำการตัดสินใจประสบความลำบากมาก ในการแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นการตัดสินใจที่เกือบจะเรียกว่าตกอยู่ในความมืด ซึ่งอาจจะมีหรือ อาจจะไม่มีหรือมีอยู่แต่ซุกซ่อนอยู่ที่ใดก็ไม่อาจทราบได้ โดยมีการกล่าวกันว่าเราสามารถนำ กระบวนการวิธีและเทคนิควิธีการตัดสินใจเข้ามาปรับใช้ได้ คือ ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนสามารถนำ หลักการประยุกต์การตัดสินใจในเชิงปริมาณเข้ามาช่วย คือการพยายามนึกถึงโอกาสที่จะเป็นไปได้จาก สถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน โดยอาศัยเทคนิควิธีทางด้านสถิติหรือทางด้านปริมาณ เช่น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3