2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

40 การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติที่แน่ใจว่าจะประสบความสำเร็จต่ำที่สุด หรือเรียกว่าวิธี Maximin และ การตัดสินใจเลือกเฉพาะทางเลือกที่ผลตอบแทนสูงสุดในบรรดาพวกที่สูงสุดที่เรียกว่าวิธี Minimax 3. การตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่เสี่ยง (Risky Situation) โดยสามารถนำเทคนิคที่เรียกว่า Decision Tree หมายถึงการตัดสินใจจากการแตกแยกกิ่งก้านสาขาทางเลือกในการตัดสินใจออก เป็นรูปร่างลักษณะเช่นต้นไม้ หากเป็นทางเลือกที่จะต้องตัดสินใจก็จำเป็นต้องกำหนดความน่าจะ เป็นไปได้ใกล้เคียงพอสมควร ทั้งนี้สามารถคิดถึงโอกาสที่จะเป็นไปได้ของทางเลือกต่าง ๆ เนื่องจาก การสามารถกำหนดความน่าจะเป็นไปได้นี้เราสามารถจะเรียกได้ว่าสถานการณ์นั้นเป็นสถานการณ์ที่ จำเป็นต้องเสี่ยง 2.8 แนวคิดเกี่ยวกับหลักความได้สัดส่วน หลักความได้สัดส่วนหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าหลักห้ามมิให้กระทำเกินกว่าเหตุ เป็นหลักการ สำคัญอย่างยิ่งต่อศาลโดยเฉพาะในศาลรัฐธรรมนูญที่ได้นำหลักการดังกล่าวมาใช้เป็นเกณฑ์ในการ พิจารณาในกรณีที่มีการจำกัดสิทธิอันเป็นพื้นฐานของประชาชน โดยถือว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวสามารถ นำมาปรับใช้เป็นการทั่วไป เพื่อใช้ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของรัฐทุก ประเภท (บรรเจิด สิงคะเนติ และสมศักดิ์ นวตระกลูพิสุทธิ์, 2542) ดังนั้น หลักความได้สัดส่วนจึงมี ลำดับชั้นในระดับรัฐธรรมนูญ เป็นหลักที่ก่อให้เกิดความมั่นคงต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนอันเป็น หลักการที่มีความมุ่งหมายประการสำคัญเพื่อจำกัดการใช้อำนาจรัฐ นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของ “หลักความได้สัดส่วน” ในเชิงวิชาการไว้ดังนี้ “หลักความได้สัดส่วน” ตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐเยอรมันว่าเป็นหลักการที่ สำคัญในการตรวจสอบการกระทำของรัฐทั้งหลาย อันมีผลสมบูรณ์หรือความชอบด้วยกฎหมายของ การกระทำของรัฐนั้น ๆ โดยมีสาระสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ หลักความเหมาะสม หลักความจำเป็น และหลักความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2552) นอกจากนี้ยังมี (สมคิด เลิศไพฑูรย์, 2533) อธิบายความหมาย “หลักความได้สัดส่วน” ว่า หากฝ่ายปกครองจะใช้อำนาจละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะต้องใช้อำนาจเท่าที่จำเป็น การละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากการละเมิดนั้นมีขนาดเกินสมควร เมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองและการใช้อำนาจนั้นต้องสัมพันธ์ และได้สัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เป้าหมายและการตัดสินใจ โดยต้องพิจารณา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3