2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
42 หลักความได้สัดส่วน (Principle Of Proportionality) ในทางปกครองถือเป็นหลักกฎหมาย ทั่วไปที่ควบคุมการกระทำทั้งหลายของรัฐในทางปกครองซึ่งเป็นบทบาทสำคัญของฝ่ายปกครอง เช่น การออกกฎ การออกคำสั่งทางปกครอง หรือการกระทำอื่นใด (พระราชบัญญัติจัดตั้งศาล ปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542, 2542) เพื่อมิให้ฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ แทรกแซงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนซึ่งเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้หรือ อีกนัยหนึ่งเป็นกรณีที่กฎหมายให้อำนาจดุลพินิจ (Discretionary Power) เนื่องจากหลักความได้ สัดส่วนนี้เป็นหลักประกันในทางเนื้อหามิให้ฝ่ายปกครองใช้อำนาจตามอำเภอใจ ให้ฝ่ายปกครองมี อำนาจในการตัดสินใจอย่างอิสระที่จะเลือกกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดภายใน ขอบเขตวัตุประสงค์ของกฎหมาย โดยฝ่ายปกครองมีอำนาจในการดำเนินการโดยพิจารณาวิธีการหรือ มาตรการที่เลือกใช้ต้องมีความจำเป็นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะมากกว่าเมื่อเทียบกับความเสีบ หายของปัจเจกบุคคล กล่าวคือฝ่ายปกครองต้องเลือกกระทำการในทางที่เหมาะสมันที่จะทำให้บรรลุ วัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้อำนาจอย่างแท้จริง (ฤทัย หงส์สิริ, 2565) ดังนั้น หลักความได้สัดส่วน จึงเป็นกรอบในการควบคุมหรือจำกัดการใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง และเป็นเครื่องมือควบคุมฝ่าย ปกครองมิให้ใช้อำนาจตามอำเภอใจ (หยุด แสงอุทัย, 2535) ให้หลักการสาระสำคัญของหลักความได้สัดส่วน (ปรานี สุขศรี, 2557) แบ่งเป็น 3 ประการ ประกอบไปด้วย หลักความเหมาะสม (Principle Of Suitability) หลักความจำเป็น (Principle Of Necessity) และหลักความได้สัดส่วนอย่างแคบ (Principle Of Proportional Strict Sensu) โดย ศาลปกครองสูงสุดได้นำหลักดังกล่าวมาใช้ในการวินิจฉัยข้อพิพาท ดังต่อไปนี้ 1. หลักความเหมาะสม (Principle Of Suitability) หรือหลักความสัมฤทธิ์ผล (Principle Of Appropriateness) หากมาตรการนั้นไม่อาจทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างแน่แท้หรือการ จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์เป็นไปด้วยความยากลำบาก ย่อมถือว่ามาตรการดังกล่าวไม่มีความ เหมาะสมและต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าฝ่ายปกครองมุ่งหมายจะใช้มาตรการนั้นเป็นเครื่องมือ ดำเนินการให้เกิดผลเป็นอย่างอื่นนอกเหนือไปจากผลที่กฎหมายฉบับที่ให้อำนาจประสงค์จะให้เกิดขึ้น เข้าข่ายเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ (Abuse Of Power) ดังนั้น มาตรการที่ฝ่ายปกครองเลือกใช้ ต้อง เป็นมาตรการที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง วัตถุประสงค์ของการใช้อำนาจ วิธีการซึ่งรัฐนำมาใช้ต้องบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างแน่แท้และกฎหมาย ที่ให้อำนาจแก่ฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นมาตรการอย่างหนึ่งที่ฝ่ายปกครองเลือกนำมาใช้ คือ หลักความ เหมาะสม (วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, 2543)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3