2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
43 เมื่อศึกษาคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีที่นำหลักความเหมาะสม ( Principle Of Suitability) ซึ่งมีหลักการสำคัญหลายประการอันจะก่อให้เกิดบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดี เพื่อนำมาประกอบการวินิจฉัยการกระทำทางปกครองของทางฝ่ายปกครอง กล่าวคือ หลักความ เหมาะสมต้องสอดคล้องกับวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) เพื่อให้สังคม ของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขและ ตั้งอยู่บน ความถูกต้องตามหลักคุณธรรม (Morality) และเคารพในสิทธิของผู้อื่น เนื่องจากการใช้ อำนาจเพื่อดำเนินการอันเป็นประโยชน์สาธารณะจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนต้องอยู่ ภายใต้หลักนิติธรรม (Rule Of Law) ถึงแม้ว่าฝ่ายปกครองจะมีอำนาจตามกฎหมายที่จะกระทำการ ใด ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อันเป็นประโยชน์สาธารณะ ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยหลักการดังกล่าวจากอำนาจหน้าที่และการใช้อำนาจของ เทศบาล ตามมาตรา 50 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ที่กำหนดให้ “การ ปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยวิธีการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี” เนื่องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดไปถึงว่า การปฏิบัติหน้าที่ต้องอยู่ภายใต้ ขอบเขตของกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก แม้เทศบาลจะมีอำนาจใน การปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้และปฏิบัติราชการภายใต้การบิหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้น เทศบาลจะต้องพิจารณาว่ามาตรการหรือวิธีการที่เลือกนั้นสำเร็จลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพและ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือไม่ ดังนั้น อาจถือได้ว่าการใช้ดุลพินิจดังกล่าวไม่มีความ เหมาะสมและไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย หากเทศบาลไม่ได้ใช้อำนาจโดยพิจารณา คำนึงถึงวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) หลักความเหมาะสมต้องมีความสอดคล้องกับหลักคุณธรรม (Morality) เพื่อให้การ บริหารงานภาครัฐบรรลุวัตถุประสงค์ตามกฎหมาย มาตรการที่รัฐนำมาใช้จะต้องเกิดจากการที่ผู้ใช้ อำนาจนั้นโดยสุจริตตามหลักคุณธรรม (Morality) ปราศจากอคติ 4 กล่าวคือ ความลำเอียงอันเกิด จากความรักหรืออามิสสิ่งจูงใจ (ฉันทาคติ) ความลำเอียงอันเกิดจากความโกรธพยาบาทหรือความ เกลียดชัง (โทสาคติ) ความลำเอียงเพราะความไม่รู้หรือหูเบา (โมหาคติ) ลำเอียงเพราะความกลัวจาก อำนาจหรืออิทธิพล (ภยาคติ) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม เช่น โดยหลักการ ปกติในการออกคำสั่งย้ายข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ในฝ่ายปกครองจะต้องตั้งอยู่บนความชอบธรรม ตามระบบคุณธรรมในหลักการบริหารงานบุคคล ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจในการโยกย้ายข้าราชการ ดังนั้น การใช้อำนาจของผู้บังคับบัญชาในการย้ายข้าราชการ จำเป็นต้องใช้ดุลพินิจอย่างเหมาะสมและ คำนึงถึงประสิทธิภาพและประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับในการบริการสาธารณะและเพื่อเป็น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3