2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
46 เพราะหากไม่ดำเนินการจะเป็นเหตุให้ไม่อาจป้องกันน้ำที่จะไหลจากถนนซอยข้างเคียงซึ่งมีระดับ ที่สูงกว่าลงมาท่วมได้ ไม่สามารถระบายน้ำจากถนนซอยพิพาทออกสู่ถนนซอยข้างเคียงได้ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.239/2556) ความจำเป็นของการดำเนินการสร้างสถานีรถไฟฟ้า ให้มีขนาดเพียงพอที่จะรองรับปริมาณผู้ใช้บริการ ความปลอดภัย และแก้ไขปัญหาจราจร (คำสั่งศาล ปกครองสูงสุดที่ ฟ.105/2555) ความจำเป็นในการปรับปรุงเส้นทางเดินรถประจำทางเพื่อให้การ จัดบริการรถสาธารณะให้แก่ประชาชนเป็นไปอย่างเพียงพอและประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็ว (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.78/2554) ซึ่งสาธารณะได้ประโยชน์มาก โดยการที่ฝ่ายปกครอง เลือกใช้มาตรการที่ก่อให้เกิดความรุนแรงน้อยที่สุดหรือเกิดผลกระทบต่อปัจเจกบุคคลน้อยที่สุด นอกจากนี้ศาลปกครองสูงสุดได้นำหลักความจำเป็น (Principle Of Necessity) มาวินิจฉัยคดีพิพาท เกี่ยวกับบริหารงานบุคคล กรณีการใช้อำนาจ “ออกคำสั่งย้าย” เนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้ถูกย้ายมีปัญหา ในการบริหารในการบริหารงานหรือเป็นต้นเหตุให้เกิดความวุ่นวายลความแตกแยกในองค์กร รวมทั้งมี พฤติการณ์การกระทำความผิดทางวินัย (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, 2540) และ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, 2550) 2. หลักความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ (Principle Of Proportionality Strict Sensu) หมายความว่า มาตรการอันใดอันหนึ่งที่นำมาใช้จะต้องไม่อยู่นอกเหนือของเขตของ ความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการกับวัตถุประสงค์ของการใช้อำนาจที่กฎหมายกำหนดไว้ กล่าวคือ ต้องเกิด ดุลยภาพระหว่างประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์ของส่วนรวมกับผลกระทบหรือความเสียหาย ต่อสิทธิพื้นฐานของเอกชนหรือสังคมโดยรวม หากประโยชน์สาธารณะที่ได้มีเพียงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับผลกระทบที่เกิดกับเอกชนหรือสังคมโดยรวม กรณีย่อมถือว่าไม่เป็นไปตามหลัก ความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ โดยหลักการได้สัดส่วนอย่างแคบ จึงเป็นหลักการที่เรียกร้อง ให้เกิดดุลยภาพระหว่างความเสียหายของเอกชนหรือสังคมโดยรวมกับประโยชน์มหาชนหรือ ประโยชน์สาธารณะจากมาตรการที่ฝ่ายปกครองหรือรัฐเลือกดำเนินการ (วรเจตน์ ภาคีรัตน, 2543) อันเป็นหลักการที่ฝ่ายปกครองต้องชั่งน้ำหนักหาความสมดุลระหว่างสิทธิหรือส่วนได้เสียของเอกชนกับ สิทธิหรือส่วนได้เสียของมหาชน ว่าหากใช้ดุลพินิจนั้นแล้วจะส่งผลเสียหายแก่เอกชนหรือมหาชนมาก น้อยเพียงใด กรณีตัวอย่างคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่สำคัญที่นำหลักความได้สัดส่วน (Principle Of Proportionality) มาใช้วินิจฉัยคดีพิพาททางปกครอง เช่น กรมชลประทานสร้างฝายน้ำล้นทำให้ เกิดน้ำท่วมพื้นที่ทำนาของเอกชน : คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 283/2555 ผู้ประกอบอาชีพ ชาวนาถูกน้ำท่วมขังพื้นที่ทำนากว่าเจ็ดไร่ เนื่องจากการสร้างฝายน้ำล้นของกรมชลประทานเมื่อปี 2526 ทำให้ทำนาไม่ได้ยี่สิบสี่ปี จากที่เกี่ยวผลผลิตข้าวได้ปีละ 200 กระสอบ มีรายได้กว่าปีละ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3