2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

48 ประโยชน์ในน้ำที่จักเก็บไว้เพียงใด ซึ่งจะต้องดำเนินการพิจารณาร่วมกันระหว่างประชาชนในพื้นที่ ร่วมกับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการชลประทานและการดูแลฝายน้ำล้นห้วยลาด ราชการส่วนท้องถิ่น นายอำเภอท้องที่รวมทั้งคณะกรรมการหมู่บ้านคือฝ่ายปกครอง ทั้งนี้เมื่อยังไม่สามารถยุติได้ว่าผู้ถูก ฟ้องคดีควรเปิดทางระบายน้ำเพื่อลดระดับน้ำในฝายน้ำล้นห้วยลาดให้อยู่ในระดับใด เนื่องจากยังมิได้ มีการพิจารณาว่า สมควรกักเก็บน้ำในลำห้วยไว้เพียงใด ผู้ฟ้องคดีจึงอาจแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ของผู้ฟ้องคดีให้หมดไปหรือน้อยลงไปจากเดิม โดยการพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความจำเป็นการ กักเก็บน้ำให้มีปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการใช้ของประชาชนในปัจจุบัน โดยการจัดให้มีการ ประชุมร่วมกันหน่วยงานและและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้พิจารณาแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความ เหมาะสมในการปรับระดับการกักเก็บน้ำในฝายน้ำล้นห้วยลาด หากไม่อาจแก้ไขปัญหาโดยการปรับ ลดระดับการกักเก็บน้ำ ทั้งนี้ให้ดำเนินการขุดลอกลำห้วยและนำดินกั้นตามแนวลำห้วยโดยประสาน ผ่านหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาในคดีนี้ ให้กรมชลประทานชดใช้ค่าเสียหายจากการที่ผู้ ฟ้องคดีไม่ได้ทำนาและให้กรมชลประทานพิจารณาปรับระดับของการกักเก็บน้ำล้นห้วยลาดหรือหรือ โดยวิธีการอื่นใดที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมนาของผู้ฟ้องคดี โดยเลือกมาตรการที่จำเป็นเพื่อให้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการก่อสร้างฝายน้ำล้นโดยเก็บกักน้ำในลำห้วยให้เพียงพอต่อความ ต้องการของประชาชนและไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง และมิให้เกิดผลกระทบเกินสมควรต่อประชาชน ส่วนน้อย โดยมิใช่การเปิดทางระบายน้ำไหลลงสู่แม่น้ำโขงซึ่งไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการสร้าง ฝายน้ำล้น ทั้งนี้บรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่นำหลักความ ได้สัดส่วนมาใช้ในการวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครอง จากการศึกษาคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่นำหลักความได้สัดส่วนมาวินิจฉัยข้อ พิพาททางปกครองสามารถสรุปสาระสำคัญของ “หลักความได้สัดส่วน (Princip le O f Proportionality) และบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด (วุฒิชัย จิตตานุ, 2549) สรุปได้ดังนี้ 1. หลักความได้สัดส่วนเป็นหลักกฎหมายที่กระทำการทางปกครองโดยฝ่ายปกครอง เพื่อให้ ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างแท้จริงผ่านการกระทำโดยชอบด้วย กฎหมาย ซึ่งจะต้องมีกฎหมายให้อำนาจและดำเนินการภายในขอบเขตวัตถุประสงค์ที่กฎหมาย กำหนดไว้ในการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองในการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดในทางปกครอง มาบังคับใช้กับประชาชน ทั้งนี้ฝ่ายปกครองจะต้องใช้อำนาจของตนอย่างสมเหตุสมผลหรือพอเหมาะ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3