2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

51 1. พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 2. พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 และแก้ไขเพิ่มเติม 3. ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย ที่ดิน (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2562 4. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ทรัพย์สิน และนิติกรรม สัญญา 5. พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 6. มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการเวนคืน 7. ข้อตกลงระหว่างกรมที่ดินและกรมชลประทาน พ.ศ. 2526 การจัดหาที่ดินมีความหมายโดยกว้าง เดิมใช้คำว่า “การจัดซื้อ” ซึงมีความหมายแคบกว่า โดยมีขั้นตอนและกระบวนการการปฏิบัติ ประกอบไปด้วยการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้ ประโยชน์ซึ่งการชลประทานตามกระบวนการขั้นตอนที่ได้วางหลักไว้ หลักการสำคัญในการจัดหาที่ดินเพื่อการชลประทาน คือ การได้มาโดยวิธีการซื้อขายซึ่งเป็น วิธีการจัดซื้อในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ แต่มีความจำเป็นต้องได้มา ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืน ตามหมวด 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 เป็นวิธีที่มีความ นิ่มนวล กล่าวคือ ผู้ซื้อ (หน่วยงานราชการ) กับผู้ขาย (เจ้าของอสังหาริมทรัพย์) มีกระบวนการ แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน โดยราษฎรเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินจากการที่ ตนได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างเพื่อการชลประทาน พร้อมด้วยการได้รับประโยชน์โดยตรง จากการที่ตนได้ใช้น้ำเพื่อการอุปโภค – บริโภค และใช้นำดังกล่าวเป็นไปเพื่อการเกษตร จึงตกลง ปลงใจยินยอมที่จะขายที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวให้ แต่กรณีมีราษฎรหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการชลประทานบางส่วน ไม่ยินยอมหรือตกลงที่จะขายอสังหาริมทรัพย์นั้นให้ด้วยวิธีการซื้อขาย ก็จำเป็นต้องใช้กระบวนการ ทางกฎหมาย คือ การออกพระราชบัญญัติเวนคืนมาบังคับใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือที่ดิน ดังกล่าว โดยการดำเนินการก่อสร้างโครงการชลประทานตามแผนงานพัฒนาแหล่งน้ำนั้นจำเป็นต้อง มีขั้นตอนการ “จัดหาที่ดิน” ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในการจัดเตรียมพื้นที่เพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงการ ต่าง ๆ และเพื่อเป็นสถาที่ตั้งของโครงการ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อดำเนินการก่อสร้าง โครงการชลประทาน ประกอบไปด้วย 1. ขั้นตอนการพิจารณาเพื่อศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ในการสำรวจข้อมูลด้านอุทกวิทยา เพื่อให้หน่วยงานได้ทราบถึงปริมาณน้ำที่เหมาะสมในการก่อสร้าง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3