2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
52 โครงการชลประทาน การสำรวจข้อมูลด้านวิศวกรรมและธรณีวิทยา การศึกษาความเหมาะสมและ พิจารณาวางแผนโครงการ สำรวจออกแบบและกำหนดขอบเขตของการก่อสร้างโครงการซึ่งจัดทำขึ้น โดยโดยสำนักออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม กรมชลประทาน 2. ขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อให้ทราบถึงข้อเท็จจริงในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการใช้ ทั้งในส่วนของที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ และที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ 3. ขั้นตอนการกำหนดราคาค่าทดแทนทรัพย์สิน 4. ขั้นตอนการจ่ายเงินค่า ทดแทนทรัพย์สิน โดยสามารถแยกประเภทตามลักษณะพื้นที่ที่ได้ถือครองในอสังหาริมทรัพย์หรือที่ดิน สำหรับใช้เพื่อการก่อสร้างโครงการชลประทานได้ 2 ประเภท (ฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักกฎหมายและ ที่ดิน, 2557) ได้สรุปไว้ดังนี้ 1. ที่ดินของรัฐ ประกอบไปด้วยที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการทั่วประเทศ ได้แก่ ที่ดินที่กำหนดและสงวนไว้เพื่อประโยชน์โดยเฉพาะ เช่น ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ ที่สวน และคุ้มครองสัตว์ป่า รวมถึงที่ราชพัสดุซึ่งเป็นที่ดินของกระทรวง ทบวง หรือกรมเป็นผู้ถือใช้ประโยชน์ ในที่ดินซึ่งอยู่ในการดูแลของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยที่สาธารณะประโยชน์ในที่นี้เป็นที่ซึ่ง ประชาชนใช้ร่วมกัน กล่าวคือ เป็นที่ซึ่งเอกชนไม่สามารถดำเนินการเพื่อให้ที่นั้นมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ ในการครอบครองในที่ดินได้ 2. ที่ดินของเอกชน ซึ่งเป็นที่ดินที่สามารถมีสิทธิในการครอบครองที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ดังกล่าวโดยบุคคลทั่วไป รวมไปถึงการครองครองโดยนิติบุคคลซึ่งไม่ใช่หน่วยงานรัฐ รวมไปถึงที่ดินที่ สามารถจับจองทำประโยชน์และเข้าทำการสำรวจเพื่อออกเอกสารสิทธิได้ และที่ดินซึ่งมีเอกสิทธิ์ใน การครอบครอง ได้แก่ โฉนด (น.ส.4) หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก. , น.ส.3.) ใบจอง หนังสือแสดงสิทธิครอบครอง (ส.ค.1) วิธีการจัดหาที่ดินเพื่อการชลประทาน สามารถดำเนินการได้สองวิธี ดังนี้ วิธีการเจรจาปรองดอง เป็นวิธีเพื่อทำการเจรจาตกลงทำความเข้าใจกับราษฎรผู้ถือครอง ที่ดินซึ่งได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการชลประทาน ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีแรกที่ หน่วยงานภาครัฐ (กรมชลประทาน) ใช้เป็นวิธีหลักในการดำเนินการจัดหาที่ดินเพื่อการชลประทาน โดยใช้พระราชบัญญัติชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการ ซื้อขาย และมติคณะรัฐมนตรีในการดำเนินการ แต่หากมีราษฎรสามารถตกลงกันได้ด้วยวิธีการเจรจา ปรองดองก็ไม่จำเป็นต้องออกพระราชบัญญัติเวนคืน (กรมชลประทาน, 2566) 1. ขั้นตอนการดำเนินการเพื่อให้ทราบถึงข้อเท็จจริงในที่ดิน 1) การกำหนดเขตของพื้นที่ที่จำเป็นเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ โดยกรมชลประทาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3